lundi 28 février 2011

เมื่อหลวงพ่อปัญญานันทะเรียกหลวงตาบัวว่า "ไอ้.."




กลายเป็น Talk of the town ไปอีกประโยคหนึ่งแล้ว เมื่อพระธรรมโกศาจารย์ (ปัญญานันทะภิกขุ) วัดชลประทานรังสฤษฎิ์ จังหวัดนนทบุรี พระมหาเถระของประเทศไทยผู้มีกิตติศัพท์เกริกไกรมาเนิ่นนาน ได้ไปพูดออกสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 ในรายการ "กรองสถานการณ์" ของ อดิศักดิ์ ศรีสม ว่า "ไอ้หลวงตามมหาบัว มันเป็นพระป่า กิเลสหนา มันเข้ามาสร้างความวุ่นวายในเมืองด้วยจิตริษยา" เรื่องก็เลยไปกันใหญ่
     จากการพูด การเทศน์ การให้สัมภาษณ์ ของพระธรรมวิสุทธิมงคล หรือหลวงตาบัวนั้น ท่านก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ไปในทำนอง "พระปฏิบัติทำไมคุมอารมณ์ไม่อยู่" ถึงขนาดว่า "ฟุ้งจนน้ำหมากกระเด็น" นั่นเป็นประเด็นที่คนส่วนใหญ่มอง
     ทีนี้พอมาถึงกรณีหลวงพ่อปัญญาไปพูดว่า "ไอ้หลวงตามหาบัว มันเป็นพระป่า..." อย่างนี้ ก็เหมือนมีเป้าให้ทางลูกศิษย์ลูกหาหลวงตาบัวหรือพุทธศาสนิกชนคนอื่นเขาลังเลสงสัยว่าทำไม หลวงพ่อ ซึ่งความจริงก็เป็นรุ่นปู่กันแล้ว เพราะอายุเกิน 90 ปีกันแล้วทุกองค์ ทำไมจึงไม่ทันสมัยเอาเสียเลย ต้องใช้คำพูดว่า "มึง กู มัน ฯลฯ" ระดับเดียวกับหลวงพ่อคูณซึ่งเป็นรุ่นน้องด้วย
     แหม ถ้าอ่านหนังสือพิมพ์เพียงอย่างเดียว ก็คงแหลมเหมือนเขาควายเชียวล่ะ เพราะว่าพวกหนังสือพิมพ์นี่แหลมเก่ง เราจึงควรไปดูสถานการณ์จริงกันว่าเป็นอย่างไร
     ในคำพูดคำจาที่ไม่ใช่การเขียนนั้น เป็นธรรมดาว่าต้องใช้คำสามัญ และไม่ได้กลั่นกรองแบบร้อยแก้ว ทีนี้จะให้มันสมู๊ด (แปลว่าอ่อนหวาน) น่ะ คงเป็นไปได้ยาก อย่างหลวงพ่อปัญญาท่านพูดว่า "ไอ้หลวงตามหาบัว" แล้วก็มีคำว่า "มัน" ต่อไปอีกนั้น จะว่าท่านไม่สำรวมก็คงว่าไม่ได้ แต่การพูดของพระผู้เฒ่าเข้า 90 ปีไปแล้ว จะให้พูดอะไรตัดถ้อยตัดคำเอาเฉพาะที่จะเข้าประโยคได้เท่านั้นมันก็ยาก ท่านเลยลากเสียงหรือเอื้อนเสียงเสียก่อนว่า "อ้าย" หรือ "ไอ้"แล้วจึงต่อท้ายด้วยชื่ออันเต็มๆ ว่า "หลวงตามหาบัว" แสดงว่าหลวงพ่อปัญญาท่านยังให้เกียรติแก่หลวงตาบัว เพียงแต่สำนวนมันพาไปเท่านั้น แม้แต่คำว่า "มัน" ที่ลงท้ายไปนั้นก็ไม่ต่างกัน มีไอ้แล้วก็ต้องมีมัน เพราะ "ไอ้" กับ "มัน" มันมาด้วยกัน
     ดังนั้น ท่านผู้อ่านที่ได้ฟังข่าวสาร ก็ขอจงวางใจให้เป็นกลาง ถือเสียว่าผู้หลักผู้ใหญ่ให้ความรู้ พวกเราเป็นเด็กก็รับฟังทั้งคำชมและคำด่าของครูบาอาจารย์ไปก่อน รอให้อายุเกิน 90 ปีแล้ว จะพูด "ไอ้" หรือ "มัน" หรือทั้ง "มัน" ทั้ง "ไอ้" ก็คงไม่มีใครตำหนิอยู่แล้ว นะ จะบอกให้..


ที่มา  มุมมองพระมหานรินทร์ www.allitlebuddha.com

ประกาศแล้วสำหรับรางวัลภาพยนตร์ออสการ์ปี 2011 (83rd Academy Awards)










Winners and Nominees for the 83rd Academy Awards



Actor in a Leading Role

    * Javier Bardem in “Biutiful”
    * Jeff Bridges in “True Grit”
    * Jesse Eisenberg in “The Social Network”
    * Colin Firth in “The King's Speech”
    * James Franco in “127 Hours”

Actor in a Supporting Role

    * Christian Bale in “The Fighter”
    * John Hawkes in “Winter's Bone”
    * Jeremy Renner in “The Town”
    * Mark Ruffalo in “The Kids Are All Right”
    * Geoffrey Rush in “The King's Speech”

Actress in a Leading Role

    * Annette Bening in “The Kids Are All Right”
    * Nicole Kidman in “Rabbit Hole”
    * Jennifer Lawrence in “Winter's Bone”
    * Natalie Portman in “Black Swan”
    * Michelle Williams in “Blue Valentine”

Actress in a Supporting Role

    * Amy Adams in “The Fighter”
    * Helena Bonham Carter in “The King's Speech”
    * Melissa Leo in “The Fighter”
    * Hailee Steinfeld in “True Grit”
    * Jacki Weaver in “Animal Kingdom”

Animated Feature Film

    * “How to Train Your Dragon” Chris Sanders and Dean DeBlois
    * “The Illusionist” Sylvain Chomet
    * “Toy Story 3” Lee Unkrich

Art Direction

    * “Alice in Wonderland”
      Production Design: Robert Stromberg; Set Decoration: Karen O'Hara
    * “Harry Potter and the Deathly Hallows Part 1”
      Production Design: Stuart Craig; Set Decoration: Stephenie McMillan
    * “Inception”
      Production Design: Guy Hendrix Dyas; Set Decoration: Larry Dias and Doug Mowat
    * “The King's Speech”
      Production Design: Eve Stewart; Set Decoration: Judy Farr
    * “True Grit”
      Production Design: Jess Gonchor; Set Decoration: Nancy Haigh

Cinematography

    * “Black Swan” Matthew Libatique
    * “Inception” Wally Pfister
    * “The King's Speech” Danny Cohen
    * “The Social Network” Jeff Cronenweth
    * “True Grit” Roger Deakins

Costume Design

    * “Alice in Wonderland” Colleen Atwood
    * “I Am Love” Antonella Cannarozzi
    * “The King's Speech” Jenny Beavan
    * “The Tempest” Sandy Powell
    * “True Grit” Mary Zophres

Directing

    * “Black Swan” Darren Aronofsky
    * “The Fighter” David O. Russell
    * “The King's Speech” Tom Hooper
    * “The Social Network” David Fincher
    * “True Grit” Joel Coen and Ethan Coen

Documentary (Feature)

    * “Exit through the Gift Shop” Banksy and Jaimie D'Cruz
    * “Gasland” Josh Fox and Trish Adlesic
    * “Inside Job” Charles Ferguson and Audrey Marrs
    * “Restrepo” Tim Hetherington and Sebastian Junger
    * “Waste Land” Lucy Walker and Angus Aynsley

Documentary (Short Subject)

    * “Killing in the Name” Jed Rothstein
    * “Poster Girl” Sara Nesson and Mitchell W. Block
    * “Strangers No More” Karen Goodman and Kirk Simon
    * “Sun Come Up” Jennifer Redfearn and Tim Metzger
    * “The Warriors of Qiugang” Ruby Yang and Thomas Lennon

Film Editing

    * “Black Swan” Andrew Weisblum
    * “The Fighter” Pamela Martin
    * “The King's Speech” Tariq Anwar
    * “127 Hours” Jon Harris
    * “The Social Network” Angus Wall and Kirk Baxter

Foreign Language Film

    * “Biutiful” Mexico
    * “Dogtooth” Greece
    * “In a Better World” Denmark
    * “Incendies” Canada
    * “Outside the Law (Hors-la-loi)” Algeria

Makeup

    * “Barney's Version” Adrien Morot
    * “The Way Back” Edouard F. Henriques, Gregory Funk and Yolanda Toussieng
    * “The Wolfman” Rick Baker and Dave Elsey

Music (Original Score)

    * “How to Train Your Dragon” John Powell
    * “Inception” Hans Zimmer
    * “The King's Speech” Alexandre Desplat
    * “127 Hours” A.R. Rahman
    * “The Social Network” Trent Reznor and Atticus Ross

Music (Original Song)

    * “Coming Home” from “Country Strong” Music and Lyric by Tom Douglas, Troy Verges and Hillary Lindsey
    * “I See the Light” from “Tangled” Music by Alan Menken Lyric by Glenn Slater
    * “If I Rise” from “127 Hours” Music by A.R. Rahman Lyric by Dido and Rollo Armstrong
    * “We Belong Together” from “Toy Story 3" Music and Lyric by Randy Newman

Best Picture

    * “Black Swan” Mike Medavoy, Brian Oliver and Scott Franklin, Producers
    * “The Fighter” David Hoberman, Todd Lieberman and Mark Wahlberg, Producers
    * “Inception” Emma Thomas and Christopher Nolan, Producers
    * “The Kids Are All Right” Gary Gilbert, Jeffrey Levy-Hinte and Celine Rattray, Producers
    * “The King's Speech” Iain Canning, Emile Sherman and Gareth Unwin, Producers
    * “127 Hours” Christian Colson, Danny Boyle and John Smithson, Producers
    * “The Social Network” Scott Rudin, Dana Brunetti, Michael De Luca and Ceán Chaffin, Producers
    * “Toy Story 3” Darla K. Anderson, Producer
    * “True Grit” Scott Rudin, Ethan Coen and Joel Coen, Producers
    * “Winter's Bone" Anne Rosellini and Alix Madigan-Yorkin, Producers

Short Film (Animated)

    * “Day & Night” Teddy Newton
    * “The Gruffalo” Jakob Schuh and Max Lang
    * “Let's Pollute” Geefwee Boedoe
    * “The Lost Thing” Shaun Tan and Andrew Ruhemann
    * “Madagascar, carnet de voyage (Madagascar, a Journey Diary)” Bastien Dubois

Short Film (Live Action)

    * “The Confession” Tanel Toom
    * “The Crush” Michael Creagh
    * “God of Love” Luke Matheny
    * “Na Wewe” Ivan Goldschmidt
    * “Wish 143” Ian Barnes and Samantha Waite

Sound Editing

    * “Inception” Richard King
    * “Toy Story 3” Tom Myers and Michael Silvers
    * “Tron: Legacy” Gwendolyn Yates Whittle and Addison Teague
    * “True Grit” Skip Lievsay and Craig Berkey
    * “Unstoppable” Mark P. Stoeckinger

Sound Mixing

    * “Inception” Lora Hirschberg, Gary A. Rizzo and Ed Novick
    * “The King's Speech” Paul Hamblin, Martin Jensen and John Midgley
    * “Salt” Jeffrey J. Haboush, Greg P. Russell, Scott Millan and William Sarokin
    * “The Social Network” Ren Klyce, David Parker, Michael Semanick and Mark Weingarten
    * “True Grit” Skip Lievsay, Craig Berkey, Greg Orloff and Peter F. Kurland

Visual Effects

    * “Alice in Wonderland” Ken Ralston, David Schaub, Carey Villegas and Sean Phillips
    * “Harry Potter and the Deathly Hallows Part 1” Tim Burke, John Richardson, Christian Manz and Nicolas Aithadi
    * “Hereafter” Michael Owens, Bryan Grill, Stephan Trojansky and Joe Farrell
    * “Inception” Paul Franklin, Chris Corbould, Andrew Lockley and Peter Bebb
    * “Iron Man 2” Janek Sirrs, Ben Snow, Ged Wright and Daniel Sudick

Writing (Adapted Screenplay)

    * “127 Hours” Screenplay by Danny Boyle & Simon Beaufoy
    * “The Social Network” Screenplay by Aaron Sorkin
    * “Toy Story 3” Screenplay by Michael Arndt; Story by John Lasseter, Andrew Stanton and Lee Unkrich
    * “True Grit” Written for the screen by Joel Coen & Ethan Coen
    * “Winter's Bone” Adapted for the screen by Debra Granik & Anne Rosellini

Writing (Original Screenplay)

    * “Another Year” Written by Mike Leigh
    * “The Fighter” Screenplay by Scott Silver and Paul Tamasy & Eric Johnson;
      Story by Keith Dorrington & Paul Tamasy & Eric Johnson
    * “Inception” Written by Christopher Nolan
    * “The Kids Are All Right” Written by Lisa Cholodenko & Stuart Blumberg
    * “The King's Speech” Screenplay by David Seidler


หมายเหตุ : สีเขียว คือ ภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัล

dimanche 27 février 2011

พินัยกรรมพุทธทาส VS พินัยกรรมหลวงตามหาบัว


พินัยกรรมพุทธทาส 


 เรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับการทำพินัยกรรมของพระธรรมโกศาจารย์ พุทธทาสภิกขุ อินทปัญโญ เมื่อวันที่ ๒๘ มี.ค. ๓๖ ณ วัดธารน้ำไหล สวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ในปีเดียวกันก่อนที่ท่านจะมรณภาพในวันที่ ๘ ก.ค. ๓๖ โดยกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการทำพินัยกรรม เพื่อให้เป็นไปตามพระอริยวินัย ในเรื่องการจัดการศพให้เป็นไปตามธรรมดาที่สุด นอกเหนือจากการกำหนดผู้จัดการศพ (พระครูปลัดศีลวัฒน์ - โพธิ์ จันทสโร),

- ให้ละเว้นการขอพระราชทานโกฐและทำพิธีอย่างอื่นนอกจากที่กำหนดไว้ในพินัยกรรม,
- ให้เก็บสพในโลง ปิดมิดชิด ละเว้นการเปิดดู ละเว้นพิธีรดน้ำศพ ละเว้นการฉีดยาศพ ละเว้นพิธีสวดศพ และ
- ให้เผาศพใน ๓ เดือน หรือถ้าจำเป็นก็ไม่เกิน ๑ ปี โดยจัดการอย่างง่ายที่สุด ไม่จัดงานพิธี
- ให้เผาศพในบริเวณเขาพุทธทอง กระดูกทั้งหมดให้นำไปเก็บไว้ในที่ที่ทำไว้ในศาลาธรรมโฆษณ์แห่งเดียว และเทซีเมนต์ทับ 











 พินัยกรรมหลวงตามหาบัว




“พินัยกรรมฉบับนี้ทำที่วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี ทำเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ.2543 ข้าพเจ้าพระธรรมวิสุทธิมงคล (พระมหาบัว ญาณสัมปันโน) อายุ 87 ปี พำนักอยู่ที่วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี ขอทำพินัยกรรมฉบับนี้เพื่อให้ทราบว่า เมื่อข้าพเจ้ามรณภาพแล้ว ให้จัดการทรัพย์สินและทำงานศพข้าพเจ้าดังนี้

- 1.บรรดาทรัพย์สินที่มีอยู่แล้วในขณะที่ข้าพเจ้ามรณภาพ และบรรดาทรัพย์สินต่าง ๆ ที่จะได้รับบริจาคในงานศพของข้าพเจ้าให้จัดการดังนี้
1.1 ส่วนที่เป็นทองคำให้หลอมเป็นทองคำแท่ง
1.2 ส่วนที่เป็นเงินไม่ว่าจะเป็นเงินสกุลใดให้นำเข้าซื้อทองคำแท่ง
ให้นำทองคำแท่งทั้ง ข้อ 1.1 และ 1.2 ไปมอบให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อใช้เป็น เงินทุนสำรองเงินตราของฝ่ายบำบัดธนาคารแห่งประเทศไทย โดยข้าพเจ้าไม่มีเจตนาที่ใช้บุคคลใดหรือคณะบุคคลใดนำไปใช้ในงานอันใด นอกจากใช้เป็นเงินทุนสำรองของประเทศ

- 2.ให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นจัดงานศพและจัดการดูแลทรัพย์สินทั้งปวงที่มีอยู่ในขณะมรณภาพและที่จะได้รับบริจาคในงานศพของข้าพเจ้าโดยให้ดำเนินการอย่างเปิดเผยและดำเนินการตามเจตนาของข้าพเจ้าระบุไว้ในข้อ 1.

- 3.ให้คณะกรรมการตามข้อ 2 จำนวน 9 คน ประกอบด้วย 1.พระอาจารย์ฝัก สันติธรรมโม (มรณภาพแล้ว) 2.พระอาจารย์อินทร์ถวาย สันตุสสโก 3.พระปัญญา วัตโก 4.พระอาจารย์วันชัย วิจิตโต 5.องคมนตรี ดร.เชาวน์ ณ ศีลวัน 6.นายศิริ คูสกุล 7.ม.ร.ว.ทองศิริ ทองแถม 8.พ.ต.อ.กฤษดา บูรณพานิช 9 พ.ต.ประชัย

- 4.ข้าพเจ้าขอตั้งให้พระสุดใจ ทันตมโน เป็นผู้จัดการมรดกของข้าพเจ้า พินัยกรรมฉบับนี้ทำไว้ 3 ฉบับ มีข้อความถูกต้องตรงกัน เก็บไว้ 3 แห่งคือ ฉบับแรกที่วัดป่าบ้านตาด ฉบับที่ 2 เก็บไว้ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาอุดรธานี ฉบับที่ 3 เก็บไว้ที่ธนาคารกสิกรไทยสาขาอุดรธานี

พินัยกรรมฉบับนี้ทำขึ้นด้วยความสมัครใจของข้าพเจ้าและข้าพเจ้ายังมีสติสัมปชัญญะดีทุกอย่าง จึงชื่อไว้ต่อหน้าพยาน

ลงชื่อ พระมหาบัว ญาณสัมปัญโญ (พระธรรมวิสุทธิมงคล)








samedi 26 février 2011

นานาชาติเตรียมคว่ำบาตรลิเบีย ยูเอ็นเตรียมประชุมมาตรการกดดันวันนี้

นานาชาติร่วมแสดงการตอบโต้การกระทำของผู้นำลิเบีย ภายใต้การนำของประธานาธิบดีสหรัฐฯ หลังจากพ.อ.มูอัมมาร์ กัดดาฟี ประกาศโจมตีผู้ต่อต้านรัฐบาลอย่างไม่เลือกหน้า

โดยทำเนียบขาวได้กล่าวว่า นายบารัค โอบามา มีแผนที่จะร่วมพูดคุยกับนายเดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ และนายนิโคลาส์ ซาร์โกซี ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เพื่อหารือถึงความเป็นไปได้ในการตอบโต้ ซึ่งรวมถึงการประกาศเขตห้ามบิน และมาตรการคว่ำบาตรเพื่อกดดันให้นายกัดดาฟีลาออก นอกจากนั้นสวิตเซอร์แลนด์ยังประกาศอายัดทรัพย์สินทั้งหมดของเขาด้วย

หลังจากที่ไม่มีสัญญาณว่าผู้นำที่ปกครองลิเบียมานาน 42 ปี จะยอมก้าวลงจากตำแหน่ง และมากกว่านั้นเขาสั่งให้กองทัพเพิ่มจำนวนเครื่องบินรบ รถถัง และนักรบรับจ้างชาวต่างชาติ เพื่อตอบโต้กลุ่มต่อต้านรัฐบาล ซึ่งนักสิทธิมนุษยชนชาวฝรั่งเศสรายหนึ่งอ้างว่าอาจมีผู้เสียชีวิตสูงถึง 2,000 ราย และจากการแถลงการณ์เมื่อวันพฤหัสฯที่ผ่านมา พ.อ.กัดดาฟี ได้แถลงการณ์ผ่านสถานีโทรทัศน์ของรัฐบาลว่า โอซามา บิน ลาเด็น และคณะ คือต้นเหตุของการชุมนุมประท้วงที่เกิดขึ้นในประเทศลิเบีย

"พวกเขาส่วนใหญ่อายุ 17 ปี ถูกให้ยาในเวลากลางคืน ซึ่งเป็นยาหลอนประสาทที่แอบใส่ในเครื่องดื่ม นม และกาแฟ" นายกัดดาฟีให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ของลิเบียแห่งหนึ่ง

เมื่อวันพฤหัสบดี ประธานาธิบดีสหรัฐ บารัค โอบามา ประณามการปราบปรามผู้ประท้วงอย่างนองเลือดของผู้นำลิเบีย มุอัมมาร์ กัดดาฟี ว่าเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้และน่าชิงชัง นับเป็นเรื่องจำเป็นที่ประเทศต่างๆ และประชาชนทั่วโลกต้องพูดเป็นเสียงเดียวกัน ความทุกข์ยากและการนองเลือดที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่น่าชิงชัง

วันเดียวกัน กลุ่มอัลกออิดะห์ในเขตแอฟริกาเหนือได้เรียกร้องให้ผู้ประท้วงเดินหน้าการต่อสู้และการปฏิวัติต่อไปเพื่อโค่นล้มทรราช โดยกล่าวว่า กลุ่มอัลกออิดะห์รู้สึกเจ็บปวดกับการสังหารหมู่ที่กัดดาฟีได้กระทำต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ พี่น้องมุสลิมที่ไร้อาวุธได้ลุกฮือขึ้นต่อต้านการกดขี่ของกัดดาฟีแล้ว

คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เตรียมจัดประชุมในวันนี้ (25 ก.พ.) เพื่อหารือเกี่ยวกับวิกฤติการณ์ดังกล่าว โดยทำเนียบขาวได้กล่าวว่า นายบารัค โอบามา มีแผนที่จะร่วมพูดคุยกับนายเดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ นายนิโคลาส์ ซาร์โกซี ประธานาธิบดีฝรั่งเศส และนายซิลวิโอ เบอร์ลุสโคนี เพื่อหารือถึงความเป็นไปได้ในการตอบโต้ ซึ่งรวมถึงการประกาศเขตห้ามบิน และมาตรการคว่ำบาตรเพื่อกดดันให้นายกัดดาฟีลาออก นอกจากนั้นสวิตเซอร์แลนด์ยังประกาศอายัดทรัพย์สินทั้งหมดของเขาด้วย

นายบัน คี มุน เลขาธิการสหประชาชาติ กำหนดกล่าวแถลงในที่ประชุม 15 ชาติเพื่อหาแนวทางกดดัน พ.อ.กัดดาฟี จากเหตุการณ์ไม่สงบในลิเบียที่มีผู้เสียชีวิตหลายร้อยคนแล้ว  ขณะเดียวกันมีรายงานว่าประชาชนอย่างน้อย 30,000 คนส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างชาติชาวตูนิเซีย และอียิปต์ ได้อพยพหนีเหตุรุนแรงออกจากลิเบียแล้ว โดยจำนวน 15,000 คนหลบหนีไปตูนิเซีย และอีก 15,000 คนเข้าไปในอียิปต์

อย่างไรก็ดีคณะมนตรีความมั่นคงฯจาก 15 ชาติระบุว่า การประชุมในวันนี้อาจยังไม่มีการประกาศหรือมีมติการคว่ำบาตรต่อลิเบีย แต่อาจมีการผลักดันท่ามกลางมติที่เป็นเอกฉันท์ที่จะจัดการต่อปัญหาความรุนแรง แต่อย่างไรก็ดี อาจเป็นไปได้ว่าสหรัฐฯและสหภาพยุโรปมีแนวโน้มที่จะแสดงการคว่ำบาตรต่อลิเบียเป็นกลุ่มชาติแรกๆ

ขณะที่จีน ซึ่งตามปกติแล้วปฏิเสธที่จะแสดงการคว่ำบาตรต่อรัฐเอกราชใดๆ แต่เจ้าหน้าที่การทูตจีนกล่าวว่า ประเทศพร้อมที่จะพิจารณาให้มีการดำเนินมาตรการหากมีความจำเป็น
    
ขณะที่นายซาร์โกซี ประกาศเรียกร้องให้มีการยุติการใช้กำลังความรุนแรง และยุติการใช้ถ้อยคำอันแสดงการคุกคามของผู้นำลิเบีย ส่วนนายโอบามาและนายคาเมรอนต่างมีมติร่วมกันที่จะจัดให้มีการประชุมพหุภาคีเพื่อหารือในประเด็นเกี่ยวกับลิเบีย

ฝรั่งเศส ถือเป็นประเทศแรกที่เรียกร้องให้คว่ำบาตรลิเบีย  นายนิโกลาส์ ซาร์โกซี กล่าวว่า "เราต้องการระงับความสัมพันธ์ทางการเงิน เศรษฐกิจ และการค้ากับลิเบียจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น" อย่างไรก็ดี นายกรัฐมนตรีของกาตาร์บอกว่าตนไม่ต้องการโดดเดี่ยวลิเบีย

ข่าวแจ้งว่า พ.อ.กัดดาฟีไม่สามารถควบคุมพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศซึ่งเป็นแหล่งน้ำมันไว้ได้ ขณะที่กองกำลังความมั่นคงได้แปรพักตร์ไปเข้าร่วมกับฝ่ายผู้ประท้วง ซึ่งยังไม่แน่ชัดว่ากัดดาฟีจะครองอำนาจไปได้อีกนานเท่าไร นายอแลง จุปเป รัฐมนตรีกลาโหมของฝรั่งเศส กล่าวว่า ตนหวังว่าการปกครองของกัดดาฟีกำลังใกล้จะสิ้นสุดลงแล้ว และย้ำข้อเรียกร้องของฝรั่งเศสที่ขอให้นานาชาติคว่ำบาตรลิเบีย ซึ่งอาจรวมถึงการยุติการซื้อน้ำมันจากลิเบียด้วย
     


ที่มา นสพ มติชน

วิกฤต "อาหรับ-แอฟริกา" 11 ชาติเสี่ยง โค่นระบอบเผด็จการ สู่ระเบียบโลกใหม่



กระแสการประท้วงและความไม่สงบที่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในตะวันออกกลางและแอฟริกาบางส่วนอย่างน้อย 15 ประเทศ และ 1 เขตปกครองตนเองของปาเลสไตน์

ไฟประท้วงเพื่อให้ได้มาซึ่งการเปลี่ยนแปลงและวิถีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นลุกลามมาจากตูนิเซียไปยังอียิปต์ จนสามารถโค่นล้มผู้นำเผด็จการที่ปกครองประเทศมายาวนานกว่า 30 ปีอย่าง ฮอสนี มูบารัก ให้พ้นจากตำแหน่งไปได้ในเวลาไม่นานนัก

ล่าสุดปรากฏการณ์การต่อต้านผู้นำกำลังคุกรุ่นดุเดือดอยู่ในลิเบีย เช่นเดียวกับที่ปรากฏในเยเมน บาห์เรน จอร์แดน อิหร่าน อิรัก ซีเรีย คูเวต หรือแม้กระทั่งเขตปกรองตนเองต่อเนื่องไปยังแคเมอรูน แอลจีเรีย ดาจิบูติ ซูดาน และโมร็อกโก

มีคำหลาย ๆ คำถูกหยิบยกมาอธิบายปรากฏการณ์เหล่านี้ เพื่อให้เห็นภาพของการเปลี่ยนแปลงไปสู่โลกอย่างฉับพลันและรวดเร็ว อาทิ "เฮอร์ริเคนของการเปลี่ยนแปลง" (Hurricane of change) และระเบียบโลกใหม่ (new world order) ซึ่งปรากฏอยู่ในบทวิเคราะห์ล่าสุด เผยแพร่เมื่อ 25 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ของเดอะ เดลี่ มาร์เวริก (www.thedailymaverick.co.za) หรือการปฏิวัติในอาหรับ (Arab revolution) เป็นต้น

ในเว็บไซต์ซีเอ็นเอ็นได้ตั้งข้อสังเกตถึงที่มาของการรวมตัวประท้วง และข้อเรียกร้องในแต่ละประเทศ อาทิ ในลิเบีย ซึ่งการประท้วงได้เริ่มต้นมาตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมาหลังจากไม่พอใจต่อความล่าช้าในโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยผู้ประท้วงได้บุกเข้าไปในที่ตั้งของโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง และยึดครองพื้นที่ดังกล่าวไว้ ในครั้งนั้นผู้นำลิเบีย โมอัมมาร์ กัดดาฟี แก้ไขปัญหาด้วยการอนุมัติเงินทุนก่อสร้างโครงการที่อยู่อาศัย และการพัฒนา 2.4 หมื่นล้านดอลลาร์

แต่จุดแตกหักระหว่างชาวลิเบียและกัดดาฟีเริ่มขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ หลังจากที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ควบคุมตัวญาติของประชาชนที่ถูกสังหารหมู่ในคุกอาบู ซาลิมเมื่อปี 2539 จาก จุดนั้นการประท้วงได้ทวีความรุนแรงและบานปลายเป็นการขับไล่ผู้นำให้พ้นจากอำนาจ

หรือในกรณีของบาห์เรน ซึ่งเริ่มต้นจากข้อเรียกร้องให้รัฐบาลนำระบอบการปกครองแบบรัฐธรรมนูญอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมาใช้ และประท้วงรัฐบาลภายใต้การนำของคนในนิกายสุหนี่ เนื่องจากไม่พอใจที่รัฐบาลชุดนี้เลือกปฏิบัติ และไม่สามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาคอร์รัปชั่นหรือการว่างงาน

นาดิม เชฮาดิ นักวิจัยจากชาแธม เฮาส์ ตั้งข้อสังเกตไว้ในเว็บไซต์ chathamhouse.org.uk ว่า แม้อาจเร็วเกินไปที่จะคิดว่าอะไรจะเกิดขึ้นตามมาหลังจากเหตุการณ์เหล่านี้ รวมถึงประเด็นที่ว่ารัฐบาลของนานาชาติควรมีปฏิกิริยาสนองตอบต่อกรณีเหล่านี้อย่างไร และจะเข้ามาแทรกแซงในระเบียบโลกใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในโลกอาหรับได้อย่างไร แต่เขาเชื่อว่าสิ่งที่ได้เกิดขึ้นแล้วในตูนิเซีย และอียิปต์ เป็นแรงบันดาลใจให้ประเทศอื่น ๆ ในโลกอาหรับทำตาม

"แต่ระยะนี้ในตูนิเซียและที่อื่น ๆ ยังไม่ใช่บทอวสาน แต่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น"

ในมุมมองของเชฮาดิ บทต่อไปของปรากฏการณ์ปลดแอกในโลกอาหรับ จะต้องตามมาด้วยการเจรจาและการสร้างระเบียบโลกใหม่ เพื่อป้องกันการเกิดสุญญากาศของอำนาจ และสร้างสถาบันต่าง ๆ ที่สามารถรับรองได้ว่า การปกครองที่ดีกว่าเดิมจะเกิดขึ้น ซึ่งหากสถานการณ์เช่นนั้นมาถึง เขาคิดว่านั่นจะเป็นช่วงที่โลกอาหรับจะเผชิญกับปัญหาท้าทายใหม่ ๆ และจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากโลกภายนอก

ความฝันที่จะเห็นโลกใหม่ที่เปลี่ยนไปจากเดิม ประชาชนมีเสรีภาพในการแสดงความเห็น และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและเท่าเทียมจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ นักวิเคราะห์เชื่อว่าสถานการณ์นั้นไม่เกินความจริง โดยเฉพาะเมื่อพลังของประชาชนประสบความสำเร็จในการสร้างการเปลี่ยนแปลงในอียิปต์ เพราะในฐานะชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลกอาหรับ อียิปต์ถูกมองว่าเป็นผู้นำเทรนด์ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ดังนั้นหลังการลงจากอำนาจของอดีตประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัก หลายคนจึงเริ่มตั้งคำถามว่าใครจะเป็นรายต่อไป

หากวิเคราะห์ปรากฏการณ์ในอียิปต์ จะพบว่าปัจจัยที่ผลักดันให้ประชาชนออกมาบนท้องถนนไม่ใช่การปกครองแบบ ทุนนิยมเผด็จการอันยาวนานเพียงอย่างเดียว แต่มีแรงบีบคั้นจากค่าครองชีพและอัตราการว่างงานที่สูงร่วมด้วย บวกกับการเข้าถึงเครือข่ายสังคมออนไลน์ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการระดมคนอย่างมีประสิทธิภาพ

บิสซิเนส อินไซเดอร์ดอทคอม ชี้ว่า เมื่อเทียบเคียงกับบทเรียนในแดนฟาโรห์มีอีก 11 ชาติที่ตกอยู่ในสถานการณ์ ล่อแหลมดังต่อไปนี้

ลิเบีย ภายใต้การปกครองของเผด็จการโมอัมมาร์ กัดดาฟี นานหลายทศวรรษ แต่ความเป็นอยู่ของประชาชนกลับไม่ดีขึ้น โดยมีอัตราการว่างงานสูงสุดในแอฟริกาเหนือ และยิ่งหมดหวังเมื่อท่านผู้นำหวังจะให้บุตรชายของตนขึ้นสืบทอดอำนาจ นอกจากนี้การอยู่ระหว่าง 2 ชาติตูนิเซียและอียิปต์ที่ประชาชนล้มเผด็จการสำเร็จ ทำให้ชาวลิเบียพร้อมต่อสู้จนถึงที่สุดเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศ

โมร็อกโก แม้อัตราเงินเฟ้อที่ 2.6% เมื่อธันวาคมปีกลายจะไม่สูง แต่อัตราว่างงานกลับอยู่ในระดับเสี่ยง โดยรวมอยู่ที่ 9.1% แต่ในหมู่คนที่จบปริญญาตรีมีถึง 1 ใน 4 ที่ไร้อาชีพ นอกจากนี้การใช้สื่อออนไลน์ยังเป็นส่วนสำคัญของชีวิตคนรุ่นใหม่ แต่เพราะรัฐบาลโมร็อกโกดำเนินการปฏิรูปประชาธิปไตยมาระยะหนึ่งแล้ว แรงกดดันทางการเมืองที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จึงมุ่งหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นไม่ใช่การล้มล้างระบอบเดิม ประเทศนี้จึงค่อนข้างปลอดภัยในระยะนี้

จอร์แดน ด้วยเงินเฟ้อที่ 6.1% การว่างงานที่ 14% และมีคนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเกือบ 40% การประท้วงจึงเกิดขึ้นแล้ว รัฐบาลหาทางบรรเทาความไม่พอใจโดยการให้เงินอุดหนุนอาหารและพลังงาน ด้าน กษัตริย์อับดุลเลาะห์ที่ 2 ซึ่งเป็นราชาใต้รัฐธรรมนูญประกาศแต่งตั้งรัฐบาลใหม่ ซึ่งมีภารกิจด้านปฏิรูปเป็นอันดับแรก จำนวนผู้ประท้วงในครั้งหน้าขึ้นอยู่กับว่าการเปลี่ยนแปลงจะเป็นไปอย่างรวดเร็วเพียงใด

ซีเรีย ภาวะทางเศรษฐกิจยังไม่ดิ่งเหวเท่าประเทศใกล้เคียง แม้การปกครองของ ประธานาธิบดีบาชาร์ อัล อัสซัด จะเหี้ยมโหดกว่าในอียิปต์ ผู้นำประเทศเชื่อว่าการเป็นพันธมิตรกับอิหร่านและสนับสนุนรัฐปาเลสไตน์จะช่วยค้ำจุนบัลลังก์ของตน คาดว่ารัฐบาลยังแข็งแกร่งเกินกว่าผู้ประท้วงจำนวนน้อยนิดจะสั่นคลอนได้

ซาอุดีอาระเบีย รายได้มหาศาลจากน้ำมันและกองทัพที่ เข้มแข็ง ทำให้เป็นไปได้ยากที่ปัญหาโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่เพียงพอหรือการใช้จ่ายงบประมาณอย่างไม่เหมาะสมจะล้มล้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้ แต่ความไม่พอใจในกลุ่มคนหนุ่มสาวซึ่งมีอัตราว่างงานสูงถึง 42% และการเข้าถึงเฟซบุ๊ก ราว 3 ล้านคนอาจทำให้ผู้นำหนาว ๆ ร้อน ๆ ได้ในอนาคต

อิหร่าน แม้รัฐบาลจะปราบปรามการประท้วงครั้งก่อนอย่างรุนแรง แต่ถ้าอัตราเงินเฟ้อและการว่างงานซึ่งอยู่ในระดับเลข 2 หลักยังสูงต่อเนื่อง ประกอบกับแรงบันดาลใจจากอียิปต์ ชาวอิหร่านอาจลุกฮือขึ้นมาอีกครั้ง

เยเมน ผู้ประท้วงเริ่มก่อหวอดจากความไม่พอใจเรื่องปัญหาว่างงานที่สูงถึง 40% รัฐบาลอยู่ในภาวะอ่อนแอเนื่องจากประเทศเป็นแหล่งชุมนุมของผู้ก่อการร้าย มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในประเทศนี้

ปากีสถาน สถานการณ์ทางเศรษฐกิจอยู่ในภาวะวิกฤต ความล้มเหลวของกลไกภาครัฐเห็นได้จากการรับมืออุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อปีกลาย และยังถูกซ้ำเติมด้วยการโจมตีของกลุ่มตาลิบันและการแทรกแซงของสหรัฐ ปัจจัยเหล่านี้อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้

เวียดนาม ปัญหาทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะเงินเฟ้อและการว่างงาน คือสาเหตุหลักที่ผลักดันให้ประเทศอยู่ในฐานะชาติเอเชียที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการชุมนุมประท้วง

จีน มีองค์ประกอบพร้อมทุกอย่างยกเว้นการว่างงาน คนในแถบชนบทอาจโกรธแค้นที่ข้าวของแพงและไม่มีงานทำแต่ยากที่กระแสความไม่พอใจจะแพร่ไปถึงเมืองใหญ่ ต้องเกิดวิกฤตเศรษฐกิจขนานใหญ่ที่กระทบถึงคนทุกหย่อมหญ้าจึงจะสั่นคลอนฐานอำนาจของรัฐบาลปักกิ่งได้
..................




ที่มา นสพ. ประชาชาติธุนรกิจ

vendredi 25 février 2011

ปรับราคาชดใช้ใหม่ แทนเครื่องราชย์ที่ไม่สามารถส่งคืน สูงสุด 2.9 ล้าน ต่ำสุด 260 บาท



ผู้สื่อข่าวรายงานว่า    วันนี้ ๒๕   ก.พ.  ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี  เรื่อง การกำหนดราคาชดใช้แทนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ไม่สามารถส่งคืนตามกฎหมาย  ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ - ๒๕๕๖
   
 ประกาศระบุว่า  ตามที่กฎหมายว่าด้วยเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญราชการที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน  ได้บัญญัติให้ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือเหรียญราชการต้องส่งคืนชั้นรอง เมื่อได้เลื่อนชั้นตราสูงขึ้น หรือผู้รับมรดกของผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่วายชนม์ซึ่งมีหน้าที่ต้องส่งคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หรือในกรณีที่ทรงเรียกเครื่องราชอิสริยาภรณ์คืน แล้วแต่กรณี 
 แต่ไม่สามารถนำเครื่องราชอิสริยาภรณ์ส่งคืนได้ จะต้องใช้ราคาเครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือเหรียญราชการนั้น ประกอบกับ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๓๓ อนุมัติหลักการให้ปรับราคาใหม่  ทุก ๓ ปี และพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๗ (๔) ได้บัญญัติให้ หน่วยงานของรัฐส่งข้อมูลข่าวเกี่ยวกับ กฎ มติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ คำสั่ง หนังสือเวียน ระเบียบ แบบแผน นโยบาย หรือการตีความ ที่จัดให้มีขึ้นโดยมีสภาพอย่างกฎ เพื่อให้มีผลเป็นการทั่วไปต่อเอกชนที่เกี่ยวข้อง ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา สำนักนายกรัฐมนตรี จึงออกประกาศการกำหนดราคา ชดใช้แทนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ไม่สามารถส่งคืนตามกฎหมาย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ - ๒๕๕๖
  

 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป  ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔ 
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า๑ ปฐมจุลจอมเกล้า ๒,๙๒๖,๗๔๐
๒ ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ๕๖๒,๔๙๖
๓ ทุติยจุลจอมเกล้า ๓๑๗,๗๖๘
๔ ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ๒๔๖,๙๑๒
๕ ตติยจุลจอมเกล้า ๒๔๖,๙๑๒
๖ ตติยานุจุลจอมเกล้า ๓๙,๔๘๘
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายใน๗ ปฐมจุลจอมเกล้า ๑,๒๕๐,๕๕๔
๘ ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ๓๕๐,๔๓๘
๙ ทุติยจุลจอมเกล้า ๓๑๓,๖๗๐
๑๐ ตติยจุลจอมเกล้า ๒๓๕,๓๘๐
๑๑ จตุตถจุลจอมเกล้า ๔๐,๑๕๒
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฯ ช้างเผือก๑๒ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก บุรุษ ๓๔,๖๔๖
๑๓ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก สตรี ๒๖,๙๐๘
๑๔ ประถมาภรณ์ช้างเผือก บุรุษ ๒๓,๘๖๔
๑๕ ประถมาภรณ์ช้างเผือก สตรี ๑๘,๖๔๒
๑๖ ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก บุรุษ ๑๓,๙๔๘
๑๗ ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก สตรี ๑๐,๙๓๔
๑๘ ตริตาภรณ์ช้างเผือก บุรุษ ๕,๗๐๔
๑๙ ตริตาภรณ์ช้างเผือก สตรี ๕,๐๕๔
๒๐ จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก บุรุษ ๒,๙๗๘
๒๑ จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก สตรี ๓,๑๕๘
๒๒ เบญจมาภรณ์ช้างเผือก บุรุษ ๒,๘๓๘
๒๓ เบญจมาภรณ์ช้างเผือก สตรี ๓,๐๐๐
๒๔ เหรียญทองช้างเผือก บุรุษ ๒,๐๐๔
๒๕ เหรียญทองช้างเผือก สตรี ๒,๒๗๘
๒๖ เหรียญเงินช้างเผือก บุรุษ ๑,๙๕๖
๒๗ เหรียญเงินช้างเผือก สตรี ๒,๒๒๘
๒๘ มหาวชิรมงกุฎ บุรุษ ๔๖,๑๙๒
๒๙ มหาวชิรมงกุฎ สตรี ๓๖,๙๒๒
๓๐ ประถมาภรณ์มงกุฎไทย บุรุษ ๒๒,๔๘๘
๓๑ ประถมาภรณ์มงกุฎไทย สตรี ๑๗,๐๑๖
๓๒ ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย บุรุษ ๑๔,๙๓๔
๓๓ ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย สตรี ๑๐,๐๐๘
๓๔ ตริตาภรณ์มงกุฎไทย บุรุษ ๕,๔๕๖
๓๕ ตริตาภรณ์มงกุฎไทย สตรี ๔,๓๔๐
๓๖ จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย บุรุษ ๒,๙๗๘
๓๗ จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย สตรี ๓,๑๕๘
๓๘ เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย บุรุษ ๒,๘๓๘
๓๙ เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย สตรี ๓,๐๐๐
๔๐ เหรียญทองมงกุฎไทย บุรุษ ๑,๖๘๖
๔๑ เหรียญทองมงกุฎไทย สตรี ๑,๙๗๐
๔๒ เหรียญเงินมงกุฎไทย บุรุษ ๑,๖๓๘
๔๓ เหรียญเงินมงกุฎไทย สตรี ๑,๙๒๒
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฯ ดิเรกคุณาภรณ์๔๔ ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ บุรุษ ๒๖,๕๓๘
๔๕ ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ สตรี ๒๑,๖๕๖
๔๖ ทุติยดิเรกคุณาภรณ์ บุรุษ ๑๕,๔๘๖
๔๗ ทุติยดิเรกคุณาภรณ์ สตรี ๑๒,๑๔๔
๔๘ ตติยดิเรกคุณาภรณ์ บุรุษ ๗,๑๔๒
๔๙ ตติยดิเรกคุณาภรณ์ สตรี ๖,๑๗๖
๕๐ จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ บุรุษ ๔,๑๒๒
๕๑ จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ สตรี ๔,๑๖๐
๕๒ เบญจมดิเรกคุณาภรณ์ บุรุษ ๔,๐๕๔
๕๓ เบญจมดิเรกคุณาภรณ์ สตรี ๔,๐๙๔
๕๔ เหรียญทองดิเรกคุณาภรณ์ บุรุษ ๓,๑๕๘
๕๕ เหรียญทองดิเรกคุณาภรณ์ สตรี ๓,๒๐๒
๕๖ เหรียญเงินดิเรกคุณาภรณ์ บุรุษ ๓,๑๑๐
๕๗ เหรียญเงินดิเรกคุณาภรณ์ สตรี ๓,๑๕๔
๕๘ เหรียญพิทักษ์เสรีชน ๒๖๐
๕๙ เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ทหาร ๒,๘๐๐
๖๐ เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา พลเรือน บุรุษ ๒,๘๐๐
๖๑ เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา พลเรือน สตรี ๓,๐๐๐
๖๒ เหรียญราชการชายแดน ๒๘๐
๖๓ เหรียญจักรมาลา ๒,๐๒๒
๖๔ เหรียญจักรพรรดิมาลา บุรุษ ๑,๘๙๖
๖๕ เหรียญจักรพรรดิมาลา สตรี ๒,๑๗๔





ที่มา นสพ. มติชน

jeudi 24 février 2011

'A-Z' กับงานประกาศรางวัล 'ออสการ์' ครั้งที่ 83





งานประกาศรางวัลของคนบันเทิงฮอลลีวูด "ออสการ์" ใกล้เข้ามาทุกที จึงไม่เสียหลายที่คอหนังจะเตรียมตัวด้วยการศึกษาเกร็ดความรู้ของงานบางส่วน เอาไว้บ้าง โดยทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ได้นำเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ กับตัวอักษร A-Z ที่บังเอิญมาเกี่ยวข้องกับงานประกาศรางวัลครั้งใหญ่นี้...

A-Academy
คือ สถาบันผู้จัดงาน ซึ่งก่อตั้งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร แรกเริ่มนั้นมีสมาชิกเป็นโปรดิวเซอร์ละผู้ผลิตหนังทั้งสิ้น 36 คน กระทั่งในปัจจุบันมีสมาชิก ซึ่งเป็นกรรมการตัดสินถึงจำนวน 6,000 คน

B-Bleachers
คือ ที่นั่งพิเศษสำหรับผู้เข้าชมงานด้านนอกสถานที่จัดงาน โดยจัดเตรียมไว้ให้กับแฟนหนังผู้คลั่งไคล้ ได้ยลโฉมเหล่าดาราอย่างใกล้ชิด แต่ต้องลงทะเบียนล่วงหน้าไว้อย่างน้อย 6 เดือน

C-Campaign
เป็นการรณรงค์ทุกๆ ปีโดยบรรดาผู้ผลิตหนัง เชิญชวนให้สมาชิก Academy ลงคะแนนเสนอชื่อหนังของค่ายตน และจัดส่งดีวีดีพร้อมอุปกรณ์โปรโมชัน ให้กับเหล่าผู้มีสิทธิ์ลงคะแนน

D-Drama
เป็นเวทีภาพยนตร์แนวดราม่า ในบรรดาประเภทหนังที่เข้าชิงออสการ์ทั้งหมด พบว่าหนังสไตล์ดราม่าสามารถชนะใจผู้มีสิทธิ์ออกเสียงมากที่สุด รองลงมาคือหนังชีวประวัติ หนังตลก และหนังเพลง

E-Envelope
หรือ ซองจดหมาย โดยพิธีกรที่ได้รับเชิญจะเป็นผู้เปิดซอง เพื่อประกาศรายชื่อผู้คว้ารางวัล

F-Fashion
คือ แฟชั่นการแต่งกายของบรรดาดาราที่เข้าร่วมในงาน แฟชั่นจึงถือเป็นไฮไลท์สำคัญของงาน แต่ที่ผ่านมา กลับมีเครื่องแต่งกายหลายชุด ที่ถูกตราหน้าว่าเป็นชุดต้องห้าม ซึ่งไม่ควรกล้าสวมออกจากบ้าน เช่น ชุดนางหงส์ของ Bjork เมื่อปี 2001 ชุดซีทรูท่อนบนไม่มีบราของ Gwinneth Patrow ในปี 2002

G-Goodie Bags
เป็นถุงของขวัญที่บรรจุเงินรางวัลมูลค่าถึง 100,000 ดอลลาร์ หรือประมาณ 3.5 ล้านบาท มอบแทนคำขอบคุณให้กับผู้ประกาศรางวัล และผู้ร่วมแสดงในงานออสการ์

H-Honorary Award
คือรางวัลเกียรติยศพิเศษ ซึ่งจะมอบให้กับดาราสูงวัยรุ่นเก๋าในวงการ

I-In Memoriam
คือ ช่วงการไว้อาลัยถึงผู้ที่จากไปในแต่ละปี

J-Jean Hersholt
รางวัลฌอง เฮอร์สโฮลท์ เขาคือดาราดัง และเคยเป็นประธานของสถาบัน หลังจากที่เขาเสียชีวิตในปี 1956 ก็มีการมอบรางวัลตามชื่อเขาให้กับ ผู้ใช้ความพยายามด้านมนุษยธรรม จนนำชื่อเสียงมาสู่วงการ

K-Kodak
หมายถึง Kodak Theatre ซึ่งใช้เป็นสถานที่จัดงานและแจกรางวัล

L-Los Angeles
หมายถึง สภาพรถติดมหาศาลที่นครลอสแองเจลิส ขณะช่วงจัดงานประกาศผลรางวัลออสการ์ในแต่ละปี

M-Marksmen
คือ พลซุ่มยิงที่คอยรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดในงาน และป้องกันไม่ให้ผู้ใช้บัตรผ่านปลอมเข้างาน

N-Nominations
คือ การเสนอชื่อหนังเข้ารับรางวัล ซึ่งภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวต้องเคยฉายที่อเมริกาอย่างน้อย 1 ครั้งก่อนวันที่ 31 ธ.ค.ปีก่อน

O-Oscar
ชื่อของรางวัลซึ่งใช้มาตั้งแต่ปี 1931 แต่ยังคงเป็นที่ถกเถียงเรื่องที่มาของชื่อ

P-Presenter
คือ พิธีกรรายการ

Q-Quips
เป็นมุขตลกนินทาของพิธีกร ขณะปฏิบัติหน้าที่บนเวที

R-Red Carpet
คือ พรมแดงในงานสำหรับประกวดแฟชั่นชุดสวยของบรรดาดารา ซึ่งใน Kodak Theatre ต้องใช้พรมแดงมากถึง 14,000 ตารางฟุต

T-Television
คือ การถ่ายทอดสดออกทีวี

U-Upsets
ความผิดหวังจากการพลาดรางวัล

V-Vanity Fair
เป็นงานเลี้ยงฉลองที่จัดโดยนิตยสาร Vanity Fair หลังเสร็จพิธีแจกรางวัล ซึ่งโดยมากผู้เข้าร่วมจะเป็นผู้ชนะรางวัล

W-War
หมายถึง สงครามที่ประเทศกำลังเผชิญอยู่ ซึ่งบางปีอาจมีการประหยัดงบในการจัดงาน เนื่องจากวิกฤติสงคราม

X- X-Rated
หนังออสการ์เรท x

Y-Youth
ดารารุ่นเล็กที่คว้ารางวัลได้

Z-Zero
หมายถึง  เลขไร้โชค เป็นความล้มเหลวที่ภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวไม่ได้รับรางวัลเลย.





ที่มา  ไทยรัฐ

บล็อกข่าวสาร ทุกวงการ จากความสนใจส่วนตัว

วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ เวลา ๒๓ นาฬิกา ตามเวลา ที่ฝรั่งเศส
ขอเปิด บล็อก ข่าว เรื่องเล่า จากหนังสือพิมพ์ เว็บ และ แหล่งข่าว ทึ่น่าเชื่อถือ ตามความคิดของผู้เขียน และเรื่องประเด็น จริงเท็จ ขอละไว้เพื่อวิจารณญาณ ของผู้อ่าน ผู้เขียนมีเจตนา เพีนงแค่ อยากรวบรวมเรื่อง หลาย ๆ เรื่อง ที่ผู้เขียนชอบ มาเก็บไว้ที่เดียวกัน เผื่อมีโอกาส และ ประโยชน์ แก่ผู้อ่านทุกท่าน