mardi 5 juillet 2011

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าที่ นายกรัฐมนตรี หญิง คนแรกของประเทศไทย






ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (เกิด 21 มิถุนายน พ.ศ. 2510ชื่อเล่น: ปู) ว่าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อ อันดับ 1 พรรคเพื่อไทย ว่าที่นายกรัฐมนตรี หญิงคนแรกของประเทศไทย เป็นน้องสาวของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง ส.ส.บัญชีรายชื่ออันดับ 1 ของพรรคเพื่อไทย ใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2554 อดีตกรรมการและเลขานุการมูลนิธิไทยคมและกรรมการผู้อำนวยการบริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ จะขึ้นดำรงตำแหน่งผู้นำประเทศไทย หลังจากการเปิดประชุมสภาและได้รับการโปรดเกล้าฯ ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

เนื้อหา

 [ซ่อน]

[แก้]ประวัติ

[แก้]ครอบครัว

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวน 10 คน ของนาย เลิศ และ นางยินดี ชินวัตร ( ธิดาในเจ้าหญิงจันทร์ทิพย์ (ณ เชียงใหม่) ระมิงค์วงศ์[1]) โดยเคยติดตาม เลิศ ชินวัตร ในสมัยที่บิดาหาเสียงในตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และเยาวลักษณ์ ชินวัตร เมื่อครั้งเป็นนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่[2] ยิ่งลักษณ์สมรสโดยไม่ได้จดทะเบียนกับอนุสรณ์ อมรฉัตร อดีตผู้บริหารในเครือบริษัท ซีพี อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และอดีตกรรมการผู้อำนวยการบริษัท เอ็ม ลิงก์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดย มีบุตรชายหนึ่งคน ชื่อ ศุภเสกข์ อมรฉัตร หรือ น้องไปป์[2]

[แก้]การศึกษา

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย มัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย[3]ปริญญาตรีจาก คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สาขาวิชารัฐศาสตร์ (สิงห์ขาวรุ่น 21) เมื่อปี พ.ศ. 2531 และระดับปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเคนทักกีสเตต สหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2533

[แก้]การทำงาน

เมื่อปี พ.ศ. 2534 ยิ่งลักษณ์ได้เข้าทำงานที่บริษัท ชินวัตร ไดเร็กทอรี่ส์ จำกัด (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทเทเลอินโฟ มีเดีย จำกัด มหาชน) ซึ่งเป็นธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ฐานข้อมูลและการสื่อสาร ในตำแหน่งพนักงานฝึกหัดด้านการตลาดและการขาย หลังจากนั้นในปีเดียวกันเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ จนกระทั่งสู่ตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายผลิตในเวลาต่อมา จากนั้น พ.ศ. 2537 จึงเป็นผู้จัดการทั่วไปของบริษัทโฆษณา เรนโบว์ มีเดี ซึ่งเดิมเป็นแผนกงานหนึ่งของบริษัท ไอบีซี อินเตอร์เนชั่นแนล บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น หรือ ทรูวิชั่นส์ ในปัจจุบัน ตำแหน่งสุดท้าย ก่อนลาออกจากบริษัทไอบีซีฯ คือตำแหน่งรองกรรมการผู้อำนวยการ จากนั้นในปี พ.ศ. 2545 เข้าสู่แวดวงธุรกิจเครือข่ายโทรศัพท์และการสื่อสาร ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และรองกรรมการผู้อำนวยการสายงานตลาด บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ในเครือบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (ชินคอร์ป) โดยได้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารบริษัท เป็นตำแหน่งสุดท้าย
หลังจากตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ปให้แก่เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ของรัฐบาลสิงคโปร์ ยิ่งลักษณ์ลาออกจากตำแหน่งในเอไอเอส โดยก่อนหน้านั้นเธอได้ขายหุ้นที่ถืออยู่ในมือทั้งหมดตั้งแต่ปลาย พ.ศ. 2548 เพื่อบริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ คือบริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นธุรกิจในเครือของตระกูล โดยดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร ดูแลพอร์ตการลงทุนพัฒนาที่ดินทั้งหมดแทนนางบุษบา ดามาพงศ์เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2549 ปัจจุบัน ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งกรรมการและเลขานุการมูลนิธิไทยคม และเคยดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารของสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีอีกด้วย[4]

[แก้]การเมือง

[แก้]พรรคเพื่อไทย

นับตั้งแต่ได้มีการก่อตั้งพรรคเพื่อไทย ซึ่งจัดตั้งขึ้นหลังพรรคพลังประชาชนถูกยุบ ยิ่งลักษณ์ได้กลายมาเป็นตัวเลือกแรกของทักษิณที่จะให้เป็นหัวหน้าพรรค อย่างไรก็ตาม ยิ่งลักษณ์ได้ปฏิเสธตำแหน่งโดยกล่าวว่าตนไม่เคยต้องการจะเป็นนายกรัฐมนตรีและเพียงต้องการแต่สนใจทำธุรกิจของตนเท่านั้น เธอกล่าวว่าเธอเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองเป็นบางครั้งเฉพาะเมื่อทางพรรคส่งจดหมายเชิญเท่านั้น[5]

[แก้]ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อหมายเลข 1 พรรคเพื่อไทย

เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ที่ประชุมพรรคเพื่อไทยมีมติเลือก ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อในลำดับที่ 1 ชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังการเลือกตั้งทั่วไปวันที่ ในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554[6]
ยิ่งลักษณ์ระบุว่าการออก พ.ร.บ.อภัยโทษหรือการนิรโทษกรรมที่เสนอโดย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุงนั้น "เป็นเพียงหลักและวิธีการ โดยหลักของส่วนนี้ต้องมาดูว่าจะได้อะไร และต้องมีคณะกรรมการทำหน้าที่พิจารณา โดยมี ร.ต.อ.เฉลิม เป็นหัวเรือ" ร.ต.อ.เฉลิมระบุว่าความคิดนิรโทษกรรมไม่ได้ให้ พ.ต.ท.ทักษิณเพียงคนเดียว แต่จะให้ทุกคน[7][8]

[แก้]ธุรกิจ

[แก้]การซื้อขายหุ้นชินคอร์ป

พ.ต.ท.ทักษิณขายหุ้นบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ให้กับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ เมื่อ พ.ศ. 2543 จำนวน 2 ล้านหุ้นในราคาหุ้นละ 10 บาท ซึ่งขณะนั้นราคาหุ้นดังกล่าวที่ซื้อขายกันในตลาดมีมูลค่า 150 บาท ทำให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้ผลประโยชน์หรือส่วนต่างประมาณ 280 ล้านบาท โดยนายเจิมศักดิ์ ปิ่นทองส.ว.กทม. ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาสอบสวนเรื่องเกี่ยวกับการทุจริตในขณะนั้น แถลงข่าวเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2548 ว่า "จากการคำนวณของกรรมาธิการฯ พบว่ากรณีนางสาวยิ่งลักษณ์ซึ่งเป็นผู้รับซื้อช่วงเดือนกันยายน ปี 2543 จะต้องเสียภาษีและเบี้ยปรับประมาณล้าน 300 ล้านบาท รวมทั้งหมดที่ต้องเสียภาษีและค่าปรับจนถึงวันที่ 30 กันยายน ปี 2548 เป็นเงิน 4,330 ล้านบาท"[ต้องการอ้างอิง]
ทั้งนี้ ในช่วงปลายปี 2548 ซึ่งเป็นช่วงที่ครอบครัวชินวัตรและดามาพงศ์มีการเจรจาขายหุ้นชินคอร์ปครั้งประวัติศาสตร์กว่า 70,000 ล้านบาท ให้กับกลุ่มเทมาเส็กเพื่อขจัดข้อครหาผลประโยชน์แฝงในการบริหารประเทศของ พ.ต.ท.ทักษิณ[9]ที่อาจจะถูกกล่าวหาว่าอาศัยอำนาจทางการเมืองเอื้อต่อธุรกิจของตระกูล[10]นั้น พบว่าระดับราคาหุ้นมีการปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้พบว่าผู้บริหารกลุ่มชินคอร์ปก็มีการขายหุ้นออกมาอย่างต่อเนื่อง และเป็นที่น่าสังเกตว่ากรณีที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นในชินคอร์ปจำนวน 20 ล้านหุ้น ซึ่งได้ขายหุ้นให้กลุ่มเทมาเส็กไปพร้อมกับครอบครัวนั้น ในช่วงเดือนธันวาคม 2548-มกราคม 2549 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเจรจาการซื้อขายหุ้นอย่างชัดเจน โดยในช่วงเดือนเศษได้มีการเทขายหุ้น ADVANC ออกมาถึง 11 ครั้ง เป็นจำนวน 278,400 หุ้น ในระดับราคาตั้งแต่ 101-113 บาทต่อหุ้น ในกรณีนี้ถือเป็นข้อกังขาว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ใช้ข้อมูลอินไซเดอร์หรือไม่ เพราะนางสาวยิ่งลักษณ์เป็นหนึ่งในผู้ที่ตกลงขายหุ้นให้กับเทมาเส็กยอมรับทราบข้อมูลการเจรจาตกลงเป็นอย่างดี การที่ขายหุ้น ADVANC อย่างต่อเนื่องเช่นนั้นในขณะที่ต่อมาทางกลุ่มผู้ซื้อได้ประกาศทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์หุ้น ADVANC ในราคาเพียงหุ้นละ 72.31 บาท[11]

[แก้]หุ้นเอสซี แอสเสท

ใน พ.ศ. 2543 มีการขายหุ้นบริษัทเอสซี แอสเสทและบริษัทในครอบครัวชินวัตรอีก 5 แห่งให้บริษัท วินมาร์ค จำกัด (Win Mark Limited) ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนที่หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน และวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2546 บริษัทวินมาร์คโอนหุ้นบริษัทเอสซี แอสเสททั้งหมดให้กองทุนรวมแวลูอินเวสเมนท์ (Value Investment Mutual Fund Inc.) หรือวีไอเอฟ และวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2546 วีไอเอฟได้โอนหุ้นบริษัทเอสซี แอสเสททั้งหมดให้กองทุนโอเวอร์ซีส์โกรธ (Overseas Growth Fund Inc.) หรือโอจีเอฟ และกองทุนออฟชอร์ไดนามิค (Offshore Dynamic Fund Inc.) หรือโอดีเอฟ
วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2546 วีไอเอฟสละสิทธิ์การซื้อหุ้นเพิ่มทุนบริษัทเอสซี แอสเสทในราคาพาร์ให้บุตรสาว 2 คนของ พ.ต.ท.ทักษิณ ทั้งที่ในการประชุมครั้งเดียวกันนั้นมีวาระให้เสนอขายหุ้นเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปเพื่อนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ด้วย เป็นเหตุให้วีไอเอฟต้องเสียผลประโยชน์จากส่วนต่างของราคาหุ้น ต่อมาใน พ.ศ. 2547 บริษัทวินมาร์คขายหุ้นบริษัทในครอบครัวชินวัตร 5 แห่งให้พิณทองทา ชินวัตรและบริษัทของครอบครัวชินวัตรอื่นอีก 2 บริษัท รวมเป็นเงิน 18.8 ล้านดอลลาร์ โดยบริษัทวินมาร์คไม่ได้รับประโยชน์จากการลงทุน ทำให้กรมสอบสวนคดีพิเศษสงสัยว่าบริษัทวินมาร์ค วีไอเอฟ โอจีเอฟ และโอดีเอฟอาจเป็นนิติบุคคลอำพรางการถือหุ้น (นอมินี) ของ พ.ต.ท.ทักษิณและครอบครัว[12] อย่างไรก็ตาม เมื่อถามว่าความเป็นธุรกิจของตระกูลชินวัตรกับความวุ่นวายของคดีความซุกหุ้นที่เกิดขึ้นส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้าเอสซี แอสเสทหรือไม่ ยิ่งลักษณ์ตอบว่า "90% ของลูกค้าที่เข้าชมโครงการรับรู้อยู่แล้วว่าธุรกิจเราเป็นของใครตั้งแต่ทำมา เพิ่งมีลูกค้าเพียงรายเดียวเท่านั้นที่ขอเงินคืน หลังจากที่รู้ว่าเราเป็นใคร เพราะไม่มั่นใจว่าอนาคตเราจะเป็นอย่างไร"[13]
ยิ่งลักษณ์ยังถูกกล่าวหาว่าได้ช่วย พ.ต.ท.ทักษิณชินวัตรปกปิดทรัพย์สิน โดยยิ่งลักษณ์ได้รับหุ้นของชินคอร์ป 0.68% จาก ทั้งหมด 46.87% ที่ทักษิณและภรรยาของเขาถือใน พ.ศ. 2542[14] และคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐได้ระบุว่ายิ่งลักษณ์ได้ทำธุรกรรมเท็จ แม้ยิ่งลักษณ์จะอ้างว่า "ครอบครัวของเธอได้เป็นเหยื่อทางการเมือง"

[แก้]การประมูลโครงการรัฐโดยเอ็ม ลิงก์

บริษัท เอ็ม ลิงก์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งอนุสรณ์ อมรฉัตร สามีที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสของยิ่งลักษณ์ ชินวัตรบริหารอยู่นั้น เข้าประมูลโครงการของรัฐบาลด้านการสื่อสาร และอินดัสเทรียล ปาร์คในขณะที่ทักษิณ ชินวัตรเป็นนายกรัฐมนตรีระหว่าง พ.ศ. 2547-49 ซึ่งหลายฝ่ายเชื่อว่าเป็นการประมูลที่ไม่โปร่งใส[15]