dimanche 25 décembre 2011

ตั้ง พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต ป.ธ.๙ ศาสตราจารย์ ดร. ราชบัณฑิต) เป็น กรรมการมหาเถรสมาคม



ระธรรมโกศาจารย์ (ดร.พระมหาประยูร ธมฺมจิตฺโต) ป.ธ.๙, พธ.บ., Ph.D. ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์  เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหารรูปที่ ๑๔   ครองวัดตั้งแต่วันที่  ๕กรกฎาคม  ๒๕๔๘   ถึงปัจจุบัน.
ดำรงตำแหน่ง
อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย /เจ้าคณะภาค ๒ /เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร  เขตธนบุรี/ คณะเลขานุการของคณะผู้ปฎิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช.  
ชาติภูมิ
พระธรรมโกศาจารย์   นามเดิม ประยูร นามสกุล   มีฤกษ์   เกิดเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน     พ.ศ. ๒๔๙๘ ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะแม ณ ตำบลโพธิ์พระยา   อำเภอเมืองสุพรรณบุรี     จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรนายเรือง นางทองสุข มีฤกษ์ พ.ศ. ๒๕๐๙ สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จากโรงเรียนวัดสามจุ่นตำบลดอนปรู อำเภอศรีประจันต์   จังหวัดสุพรรณบุรี
บรรพชาอุปสมบท
พ.ศ. ๒๕๐๙ บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่   ๑๙   มีนาคม   ณ     วัดสามจุ่น อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี มีพระครูศรีคณานุรักษ์ วัดดอนบุบผาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ. ๒๕๑๙   อุปสมบทในพระบรมราชานุเคราะห์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน เมื่อวันที่   ๔   กรกฎาคม ณ   วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร มีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธรมหาเถร) วัดสามพระยา   กรุงเทพมหานคร เป็นพระอุปัชฌาย์   มีสมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสรมหาเถร) ขณะเป็นที่พระธรรมปิฏก วัดชนะสงคราม กรุงเทพมหานคร เป็นพระกรรม วาจาจารย์ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺญมหาเถร) ขณะเป็นที่พระธรรมธีรราชมหามุนี วัดปากน้ำ กรุงเทพมหานคร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้นามฉายาว่า   ธมฺมจิตฺโต
การศึกษา
พ.ศ. ๒๕๑๒ สอบได้นักธรรมชั้นเอก ที่วัดสุวรรณภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
พ.ศ.๒๕๑๙ สอบได้ ป.ธ.๙ (ขณะเป็นสามเณร) สำนักเรียนวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร  กรุงเทพฯ
พ.ศ. ๒๕๒๐ สอบได้ประโยคครูพิเศษมัธยม (พ.ม.)
พ.ศ. ๒๕๒๑ สำเร็จปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต (พธ.บ. เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) สาขาปรัชญา จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๕๒๓ สำเร็จปริญญาโท สาขาปรัชญา จากมหาวิทยาลัยเดลี (University of Delhi)
พ.ศ. ๒๕๒๕ สำเร็จเตรียมปริญญาเอก (M.Phil.) สาขาปรัชญา จากมหาวิทยาลัยเดลี
พ.ศ. ๒๕๒๗ สอบได้ประกาศนียบัตรภาษาฝรั่งเศส (Diploma in French) จากมหาวิทยลัยเดลี
พ.ศ. ๒๕๒๙ สำเร็จปริญญาเอก(Ph.D.) สาขาปรัชญา จากมหาวิทยาลัยเดลี
สมณศักดิ์
พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระเมธีธรรมาภรณ์
พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชวรมุนี   ตรีปิฎกบัณฑิต  มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพโสภณ วิมลปริยัติกิจ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
พ.ศ. ๒๕๔๘ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมโกศาจารย์ สุนทรญาณดิลก สาธกธรรมวิจิตร ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
การปกครองคณะสงฆ์
พ.ศ. ๒๕๓๐ เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นเจ้าคณะภาค ๒ ปกครองคณะสงฆ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดอ่างทอง และจังหวัดสระบุรี
พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ.๒๕๔๗ ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะเลขานุการคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
พ.ศ. ๒๕๔๘ ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหารวรวิหาร เมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์
พ.ศ. ๒๕๔๘ ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหารวรวิหาร เมื่อวันที่ ๕   กรกฎาคม

การบริหารในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๕๒๙     เป็นผู้อำนวยการกองวิชาการ
พ.ศ. ๒๕๓๑     เป็นคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๕๓๓     เป็นรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวางแผน
พ.ศ. ๒๕๓๕     เป็นรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ
พ.ศ. ๒๕๔๐     เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๕๔๖     ได้รับพระบรมราชโองการโปรดแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ สาขาวิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๕๕๑     เป็นประธานสมาคมมหาวิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติ
การบริหารงานในฐานะอธิการบดี
ในขณะที่ดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีและอธิการบดี ได้ดำเนินการให้มีพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีหน่วยงานที่มีฐานะเป็นวิทยาเขต จำนวน ๑๐ แห่ง วิทยาลัยสงฆ์ ๕ แห่ง ห้องเรียน ๑๒ แห่ง หน่วยวิทยบริการ ๘   แห่ง สถาบันสมทบ ๔ แห่งในต่างประเทศ คือไต้หวัน เกาหลีใต้ ศรีลังกา และสิงคโปร์
เริ่มดำเนินการโครงการก่อสร้างสำนักงานใหญ่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ณ ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรี อยุธยา ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๒ ถึง ปัจจุบัน โดยจัดหาที่ดินที่ได้จากการบริจาคและจัดซื้อเพิ่มเติม จำนวนทั้งสิ้น ๓๓๕ ไร่ และได้ดำเนินการจัดสร้างอาคารต่าง ๆ รวม ๑๑ หลัง รวมงบประมาณที่ดำเนินการไปแล้วทั้งสิ้น ๒,๕๐๐ ล้านบาท
ในปี ๒๕๒๙ ท่านได้รับอนุมัติจากมหาเถรสมาคมให้ไปเป็นพระธรรมฑูต ประจำวัดธัมมาราม ชิคาโก สหรัฐอเมริกา และกลับมารับตำแหน่งผู้อำนวยการกองวิชาการ และเป็นคณบดีบัณฑิตวิทยาลัยท่านแรก และได้รับแต่งตั้งเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยจากสมเด็จพระสังฆราช เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๐ และในปีถัดมาก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะภาค ๒ รับผิดชอบเขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัดอยุธยา จังหวัดสระบุรี จังหวัดอ่างทอง
ท่านได้รับเชิญให้กล่าวบรรยายธรรมทั้งทางวิทยุและโทรทัศน์ และได้รับเชิญให้บรรยายธรรมเป็นประจำทุกปีทั่วประเทศและทั่วโลกตั้งแต่ ๒๐ ปีที่แล้วมา ซึ่งรวมทั้งการบรรยายธรรมเป็นชุดต่อเนื่องในสหรัฐอเมริกา
ในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็นผู้แทนของประเทศไทยเสนอบทความทางวิชาการ ในที่ประชุมใหญ่ขององค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ที่กรุงเทพมหานคร และในที่ประชุมสัมมนาผู้นำทางศาสนาที่จัดเนื่องในการประชุมใหญ่ขององค์การสหประชาชาติ ณ กรุงไคโร ประเทศอียิปต์
ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ ท่านได้รับเชิญไปบรรยายเรื่อง “พุทธทัศนะสลายความขัดแย้ง” ในการประชุมสุดยอดผู้นำทางศาสนาและจิตวิญญาณเพื่อสันติภาพโลก ณ องค์การสหประชาชาติ นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา
สามเดือนต่อมาท่านได้บรรยายพิเศษเรื่อง “การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพของโลก” ในการประชุมสุดยอดผู้นำชาวพุทธเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งโลกครั้งที่สอง ณ พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
ในรอบ ๑๐ ปีที่ผ่านมาท่านได้รับอาราธนาไปบรรยายธรรม และแสดงปาฐกถาเป็นภาษาอังกฤษจำนวนหลายครั้งในที่ประชุมนานาชาติในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งรวมทั้งสำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ
ด้วยการเป็นที่ยอมรับในงานบทความด้านวิชาการและการสละอุทิศตน เพื่อสังคมในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ของท่าน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของประเทศไทยจึงพระราชทานตำแหน่งศาสตราจารย์สาขาปรัชญาแก่ท่าน ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
เมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ ท่านได้เป็นประธานคณะกรรมการจัดงานในการประชุมสุดยอดผู้นำชาวพุทธเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งโลก ครั้งที่สอง   จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ ๙ – ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๓
นอกจากนี้ ท่านยังเป็นประธานคณะกรรมการจัดประชุมสภาผู้นำศาสนาแห่งโลก ณ พุทธมณฑล และศูนย์การประชุมสหประชาชาติ ระหว่างวันที่ ๑๒ -๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๕
สองปีต่อมา ท่านได้ทำหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมการจัดงานการประชุมสภาผู้นำศาสนาแห่งโลก พร้อมกับการจัดการประชุมสุดยอดผู้นำเยาวนเพื่อสันติภาพแห่งโลก ณ พุทธมณฑล ระหว่างวันที่ ๒๔-๒๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๗ และเป็นประธานคณะกรรมการจัดงาน การประชุมการทำงานร่วมกันชาวพุทธนานาชาติ ครั้งที่หนึ่ง หัวข้อ “เอกภาพและความร่วมมือของชาวพุทธ” ณ พุทธมณฑล และศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ ๑๖-๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ และจากนั้นเป็นต้นมาก็เป็นแกนหลัก และประธานการจัดงานเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลกที่ประเทศไทย และเป็นประธานคณะกรมมการการจัดงานประชุมนานาชาติ วันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ครั้งที่สอง และครั้งที่สาม อย่างต่อเนื่องในปี พ.ศ. ๒๕๔๘และ พ.ศ. ๒๕๔๙ ตามลำดับ
หลังจากการจัดประชุมวิสาขบูชาวันสำคัญสากลของโลกครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๔๘ ประมุขสงฆ์และผู้นำชาวพุทธทั่วโลกได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมรับรองให้พุทธมณฑลเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของโลก
ท่านเป็นประธานคณะกรรมการการจัดงานการประชุมนานาชาติ ครั้งที่สี่ วันวิสาขบูชาวันสำคัญสากลของโลก ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๖ -๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ภายหลังการประชุมท่านได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ
ผลงานสำคัญ
พ.ศ.๒๕๔๙ ดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุมหาเจดีย์ครั้งใหญ่ที่สุดและไดค้นพบพระบรมสารีริกธาตุ พระพุทธรูปบูชาและพระพิมพ์จำนวนมากบนองค์พระเจดีย์
พ.ศ. ๒๕๕๐   ดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์พริทร์ปริยัติธรรมศาลาและเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ชื่อว่า “ประยูรภัณฑาคาร” สำหรับแสดงสิ่งของที่ค้นพบบนองค์พระเจดีย์
พ.ศ. ๒๕๕๑ จัดงานสมโภช ๑๘๐ ปี วัดประยุรวงศาวาสและเป็นประธานชำระประวัติวัด ในโอกาสนี้ ค้นพบเอกสารสำคัญจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติที่แสดงว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงพระราชอุทิศท่าน้ำหน้าวัดแก่วัดประยุวงศาวาส ตั้งแต่ ร.ศ. ๑๒๐ ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๔๔
เกียรติคุณและรางวัลที่ได้รับ
พ.ศ. ๒๕๓๗ ได้รับรางวัลคนดีศรีสังคม จากสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย
พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้รับรางวัลเสาเสมาธรรมจักร ด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้รับรางวัลมหิดลวรานุสรณ์
พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญาการศึกษา จากมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ
พ.ศ. ๒๕๔๔ ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญาและศาสนา จากมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์
พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้รับปริญญาศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพระพุทธศาสนา จากมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ได้รับปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการบริหารองค์การจากมหาวิทยาลัยศรีปทุม
พ.ศ. ๒๕๔๘ ได้รับรางวัลกิตติคุณเสมาคุณูปการ จากกระทรวงศึกษาธิการ ได้รับเข็มกิตติคุณสถาบันพระปกเกล้า
ได้รับพระราชทานรางวัลศาสตรเมธี สาขาศึกษาศาสตร์ ด้านการบริหารการศึกษา จากมูลนิธิศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร
พ.ศ.๒๕๕๐ ได้รับสมณศักดิ์ ที่อัคคมหาสัทธัมมโชติกธชะ จากคณะสงฆ์และรัฐบาลประเทศสหภาพพม่า
พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้รับเกียรติบัตรศิษย์เก่าดีเด่นเกียรติคุณของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่ได้บำเพ็ญประโยชน์แก่สังคม ประเทศชาติ พระพุทธศาสนา
พ.ศ.๒๕๕๑ สภาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ถวายปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์  (ภาษาอังกฤษ)
ผลงานทางวิชาการ
ผลงานทางวิชาการที่สำคัญ คือการเป็นประธานคณะบรรณาธิการแปลและจัดพิมพ์พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นภาษาไทย เมื่อพ.ศ. ๒๕๓๘  และมีผลงานทางวิชาการที่พิมพ์เผยแพร่อย่างต่อเนื่อง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เช่น เปรียบเทียบแนวคิดพุทธทาสกับซาตร์  ระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ไทย คุณธรรมสำหรับนักบริหาร ปรัชญากรีก : บ่อเกิดภูมิปัญญาตะวันตก Buddhist Morality ขอบฟ้าแห่งความรู้   A Buddhist Worldview (โลกทัศน์ของชาวพุทธ) การเผยแผ่เชิงรุก พระพุทธศาสนากับความสมานฉันท์แห่งชาติ ธ ทรงครองแผ่นดินโดยทศพิธราชธรรม ดวงตาเห็นธรรม ท่านยังเป็นพระภิกษุผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิชาการของประเทศไทยรูปหนึ่ง ได้นิพนธ์หนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญากว่า ๖๐ เล่ม งานพิมพ์ต่าง ๆ ของท่านทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมทั้งหนังสืออื่น ๆ
พ.ศ. ๒๕๓๐
(๒) หนังสือธรรมประยุรวง พระพุทธประวัติ
พ.ศ. ๒๕๓๑
(๓) หนังสือธรรมประยุรวง Sarte's Existentialism and Early Buddhism
พ.ศ. ๒๕๓๒
(๔) หนังสือธรรมประยุรวง A Buddhist Approach to Peace
(๕) หนังสือธรรมประยุรวง ไตรลักษณ์ในชีวิตประจำวัน
พ.ศ. ๒๕๓๓
(๖) หนังสือธรรมประยุรวง พุทธศาสนากับปรัชญา
(๗) หนังสือธรรมประยุรวง ระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ไทย
(๘) หนังสือธรรมประยุรวง ปรัชญากรีก
พ.ศ. ๒๕๓๔
(๙) หนังสือธรรมประยุรวง พัฒนาชีวิตด้วยแนวคิดเชิงคุณธรรม
(๑๐) หนังสือธรรมประยุรวง พรใดก็ไร้ค่าถ้าไม่ทำ
พ.ศ. ๒๕๓๕
(๑๑) หนังสือธรรมประยุรวง ด้วยความหวังและกำลังใจ
(๑๒) หนังสือธรรมประยุรวง กรรม การเวียนว่ายตายเกิด
(๑๓) หนังสือธรรมประยุรวง ธรรมานุสรณ์วีรชนประชาธิปไตย
พ.ศ. ๒๕๓๖
(๑๔) หนังสือธรรมประยุรวง คุณธรรมสำหรับนักบริหาร
(๑๕) หนังสือธรรมประยุรวง ทางแห่งความสำเร็จ
(๑๖) หนังสือธรรมประยุรวง ปรัชญาแก้เซ็งและสร้างสุข
(๑๗) หนังสือธรรมประยุรวง ทำความดีมีความสุข
(๑๘) หนังสือธรรมประยุรวง ธรรมเพื่อชีวิตใหม่
(๑๙) หนังสือธรรมประยุรวง มองสังคมไทย
พ.ศ. ๒๕๓๗
(๒๐) หนังสือธรรมประยุรวง 
ปรัชญากรีก : บ่อเกิดภูมิปัญญาตะวันตก
(๒๑) หนังสือธรรมประยุรวง ความรักในหน้าที่
(๒๒) หนังสือธรรมประยุรวง อภิธรรมาวตาร (ประธานคณะผู้ปริวรรต)
(๒๓) หนังสือธรรมประยุรวง อยู่อย่างไรให้เป็นสุข
(๒๔) หนังสือธรรมประยุรวง Buddhist Morality
พ.ศ. ๒๕๓๘
(๒๕) หนังสือธรรมประยุรวง สุขภาพใจ
(๒๖) หนังสือธรรมประยุรวง สติในชีวิตประจำวัน
(๒๗) หนังสือธรรมประยุรวง วิมุตติมรรค (ประธานคณะผู้แปล)
(๒๘) หนังสือธรรมประยุรวง สร้างฝันให้เป็นจริง
(๒๙) หนังสือธรรมประยุรวง ธรรมะและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
(๓๐) หนังสือธรรมประยุรวง จรรยาบรรณของข้าราชการ
(๓๑) หนังสือธรรมประยุรวง การควบคุมสัญชาตญาณ
พ.ศ. ๒๕๓๙
(๓๒) หนังสือธรรมประยุรวง มธุรตฺถปกาสินี นาม มิลินฺทปญฺหฏีกา (ประธานปริวรรต)
(๓๓) หนังสือธรรมประยุรวง การบำเพ็ญและสร้างสมบารมี
(๓๔) หนังสือธรรมประยุรวง พระพุทธศาสนาในยุคโลกาภิวัตน์
(๓๕) หนังสือธรรมประยุรวง ธรรมมงคลแห่งชีวิต
(๓๖) หนังสือธรรมประยุรวง อนุทินธรรมะ : ธรรมะสำหรับ ๓๖๕ วัน
พ.ศ. ๒๕๔๐
(๓๗) หนังสือธรรมประยุรวง มณีแห่งปัญญา
(๓๘) หนังสือธรรมประยุรวง ขอบฟ้าแห่งความรู้
พ.ศ. ๒๕๔๑
(๓๙) หนังสือธรรมประยุรวง ปลุกปลอบใจในยามวิกฤต
(๔๐) หนังสือธรรมประยุรวง วิทยาศาสตร์ในทรรศนะของพระพุทธศาสนา
พ.ศ. ๒๕๔๒
(๔๑) หนังสือธรรมประยุรวง พระธรรมเทศนากัณฑ์พิเศษ
(๔๒) หนังสือธรรมประยุรวง เพื่อน
(๔๓) หนังสือธรรมประยุรวง การคณะสงฆ์กับ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๔๓
(๔๔) หนังสือธรรมประยุรวง จักรพรรดิธรรม
(๔๕) หนังสือธรรมประยุรวง กระบวนการเรียนรู้ในพระพุทธศาสนา
(๔๖) หนังสือธรรมประยุรวง A Buddhist Worldview (โลกทัศน์ของชาวพุทธ)
พ.ศ. ๒๕๔๕
(๔๗) หนังสือธรรมประยุรวง กรอบความคิดในการจัดทำสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนาในหลักสูตรใหม่
พ.ศ. ๒๕๔๖
(๔๘) หนังสือธรรมประยุรวง พุทธธรรมเพื่อการพัฒนา
(๔๙) หนังสือธรรมประยุรวง ทิศทางการศึกษาไทย
(๕๑) หนังสือธรรมประยุรวง วัดประยุรวงศาวาสกับราชนิกุลบุนนาค
พ.ศ. ๒๕๔๗
(๕๒) หนังสือธรรมประยุรวง International Recognition of the Day of Vesak (วิสาขบูชา วันสำคัญสากล ของสหประชาชาติ)
(๕๓) หนังสือธรรมประยุรวง มหาราชนักปฏิรูป
(๕๔) หนังสือธรรมประยุรวง พระพุทธศาสนา : การวิจัย
พ.ศ. ๒๕๔๘
(๕๕) หนังสือธรรมประยุรวง ธรรมรักษาใจสู้ภัยสึนามิ
(๕๖) หนังสือธรรมประยุรวง อานุภาพพระปริตร
(๕๗) หนังสือธรรมประยุรวง พุทธวิธีบริหาร
(๕๘) หนังสือธรรมประยุรวง การเผยแผ่เชิงรุก
พ.ศ. ๒๕๔๙
(๕๙) หนังสือธรรมประยุรวง 
พุทธทาส บุคคลสำคัญของโลก
พ.ศ. ๒๕๕๐
(๖๒) หนังสือธรรมประยุรวง 
เยือนสยามนิกายในศรีลังกา
(๖๔) หนังสือธรรมประยุรวง ธ ทรงครองแผ่นดินโดยทศพิธราชธรรม
พ.ศ.๒๕๕๑
(๖๕) หนังสือธรรมประยุรวง 
ทำอย่างไรจึงเรียนเก่ง
(๖๖) หนังสือธรรมประยุรวง สืบสานตำนานสาริกาป้อนเหยื่อ
(๖๗) หนังสือธรรมประยุรวง สาระนโยบายพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน
(๖๘) หนังสือธรรมประยุรวง หลักการและวิธีการเทศนา