jeudi 24 mars 2011

ตั้ง จังหวัด "บึงกาฬ" เป็นจังหวัดที่ 77 ของไทย

จังหวัดบึงกาฬ เป็นจังหวัดในประเทศไทย จัดตั้งขึ้นตาม พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554 อันมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2554 เป็นต้นไป[3] โดยแยกอำเภอบึงกาฬ อำเภอเซกา อำเภอโซ่พิสัย อำเภอบุ่งคล้า อำเภอบึงโขงหลง อำเภอปากคาด อำเภอพรเจริญ และอำเภอศรีวิไล ออกจากการปกครองของจังหวัดหนองคาย



ใน พ.ศ. 2537 สุเมธ พรมพันห่าว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเสรีธรรม จังหวัดหนองคายเสนอให้จัดตั้งจังหวัดบึงกาฬขึ้น โดยกำหนดจะแยกพื้นที่อำเภอบึงกาฬ อำเภอปากคาด อำเภอโซ่พิสัยอำเภอพรเจริญ อำเภอเซกา อำเภอบึงโขงหลง อำเภอศรีวิไล และอำเภอบุ่งคล้า ออกจากจังหวัดหนองคาย รวมเป็นท้องที่ทั้งหมด 4,305 ตารางกิโลเมตร[4] และมีประชากรประมาณ 390,000 คน[5]อย่างไรก็ดี กระทรวงมหาดไทย แจ้งผลการพิจารณาว่า ยังไม่มีแผนที่จะยกฐานะอำเภอบึงกาฬขึ้นเป็นจังหวัด เพราะการจัดตั้งจังหวัดใหม่เป็นการเพิ่มภาระด้านงบประมาณ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มกำลังคนภาครัฐ ซึ่งจะขัดกับมติคณะรัฐมนตรี[6]
โครงการร้างมาเกือบ 20 ปี กระทั่ง พ.ศ. 2553 กระทรวงมหาดไทย ได้นำเรื่องการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ เสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง เพื่อยก "ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. ..."[5] ผลการสำรวจความเห็นของประชาชนจังหวัดหนองคายในคราวเดียวกัน ปรากฏว่า ร้อยละ 98.83 เห็นด้วยกับการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ [5] ต่อมา วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้จัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ[7] [8] โดยให้เหตุผลว่า (1) เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในเรื่องอำเภอ จำนวนประชากร และลักษณะพิเศษของจังหวัด อีกทั้งยังเป็นผลดีต่อการให้บริการแก่ประชาชน, (2) จังหวัดหนองคายเป็นพื้นที่แนวยาวทอดตามแม่น้ำโขง จึงมีผลต่อการรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยตามแนวชายแดน, (3) จังหวัดหนองบัวลำภูและจังหวัดอำนาจเจริญที่เคยตั้งขึ้นใหม่ก็มีเนื้อที่น้อยกว่าหลักเกณฑ์มติคณะรัฐมนตรีเช่นกัน, (4) จังหวัดที่ตั้งขึ้นใหม่ไม่ให้บริการสาธารณะซ้ำซ้อนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ (5) บุคลากรจำนวน 439 อัตรา สามารถกระจายกันในส่วนราชการได้ ไม่มีผลกระทบมากนัก[9]
ต่อมารัฐสภาได้มีมติเห็นชอบ "ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. ..." เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554[10] อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จึงถวายร่างพระราชบัญญัติให้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธย โดยทรงลงเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 นำประกาศเป็น "พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554" ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2554 และใช้บังคับในวันรุ่งขึ้น[3] เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติ มีว่า
"...เนื่องจากจังหวัดหนองคายเป็นจังหวัดที่มีท้องที่ติดชายแดน และมีลักษณะภูมิประเทศเป็นแนวยาว ทําให้การติดต่อระหว่างอําเภอที่ห่างไกลและจังหวัดเป็นไปด้วยความยากลําบาก และใช้ระยะเวลาในการเดินทางมากเกินควร ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการจัดระเบียบการปกครอง การรักษาความมั่นคง และการอํานวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในท้องที่ สมควรแยกอําเภอบึงกาฬ อําเภอเซกา อําเภอโซ่พิสัย อําเภอบุ่งคล้า อําเภอบึงโขงหลง อําเภอปากคาด อําเภอพรเจริญ และอําเภอศรีวิไล จังหวัดหนองคาย ออกจากการปกครองของจังหวัดหนองคาย รวมตั้งขึ้นเป็นจังหวัดบึงกาฬ จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้"
นอกจากมาตรา 3 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่ให้จัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ โดยมีองค์ประกอบเป็นอำเภอทั้งแปดข้างต้นแล้ว มาตรา 4 ยังให้เปลี่ยนชื่อ "อำเภอบึงกาฬ" เป็น "อำเภอเมืองบึงกาฬ" ด้วย

lundi 21 mars 2011

ตั้ง "พระพรหมโมลี" เป็น "เจ้าคณะใหญ่หนกลาง"

ตั้ง "พระพรหมโมลี"
เป็น "เจ้าคณะใหญ่หนกลาง"






พระพรหมโมลี
(สมศักดิ์ อุปสมโม ป.ธ.9 
Ph.D.)
วัดพิชยญาติการาม กรุงเทพมหานคร




มส.มีมติตั้ง พระพรหมโมลี เจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการาม เป็นเจ้าคณะใหญ่หนกลาง แทนสมเด็จพระมหาธีราจารย์ ตามที่สมเด็จพระพุฒาจารย์เสนอ ให้มีผลทันที...

เมื่อวันที่ 21 มี.ค. ที่วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร นายอำนาจ บัวศิริ ผอ.สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม (มส.) สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กล่าวภายหลังการประชุม มส.ว่า ที่ประชุมมีมติแต่งตั้ง พระพรหมโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม) เจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการาม อายุ 70 ปี 49 พรรษา เปรียญธรรม 9 ประโยค เป็นเจ้าคณะใหญ่หนกลาง แทนสมเด็จพระมหาธีราจารย์ เจ้าอาวาสวัดชนะสงคราม ที่มรณภาพเมื่อวันที่ 11 มี.ค. ที่ผ่านมา ตามที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชเสนอ ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป.


พระพรหมโมลี
( สมศักดิ์ อุปสโม ป.ธ.๙, M.A., Ph.D. )
กรรมการมหาเถรสมาคมเจ้าคณะภาค ๑
เจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการาม วรวิหาร

นามเดิม สมศักดิ์ นามสกุล ชูมาลัยวงศ์ ฉายา อุปสโม

วิทยฐานะ 
น.ธ.เอก, ป.ธ.๙
ปริญญาโท M.A. (สาขาประวัติศาสตร์อินเดียโบราณและประวัติโบราณเอเซียใต้)
ปริญญาเอก Ph.D. (มหาวิทยาลัยมคธ รัฐพิหาร อินเดีย)

ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง 
กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.)
เจ้าคณะภาค ๑
เจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการาม วรวิหาร
หัวหน้าพระธรรมทูต สายที่ ๑
กรรมการ พศป.
กรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสงฆ์
รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย   วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม  

งานประพันธ์
ปริวรรตคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกาฏีกา
ปริวรรต-แปล "ปทานุกรมพระไตรปิฎกฉบับบาลี-ไทย"
แปล "ร้อยพันธรรมคีตา ของ มิลาเรปะ" เล่ม ๑-๓
แปล "พระคัมภีร์กัจจายนมูล" ฯลฯ

เกียรติคุณ 
พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้รับรางวัลเสมาธรรมจักรทองคำ ในงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา วิสาขบูชา
พ.ศ. ๒๕๓๘ ได้รับรางวัลสิทธิธาดาทองคำ จากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๘

สมณศักดิ์
พ.ศ. ๒๕๑๖ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระศรีสุทธิพงศ์
พ.ศ. ๒๕๓๑ เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชปริยัติโมลี ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆารามคามวาสี
พ.ศ. ๒๕๓๖ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพปริยัติโมลี ศรีปาพจนานุสิฐ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆารามคามวาสี
พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมโมลี ศรีปริยัตโยดม วิกรมธรรมธารี ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆารามคามวาสี
พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัณยบัฏที่ พระพรหมโมลี ศรีสังฆโสภณ วิมลสีลาจารนิวิฐ พิพิธคัมภีร์ปริวรรตธารี ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆารามคามวาสี






vendredi 18 mars 2011

คุณย่า ของผู้เขียน สิ้้นลมอย่างสงบ

เวลา ประมาณ ๒๐ น. วันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๔ คุณย่า ของผู้เขียน สิ้นลมอย่างสงบ สิริอายุ ๘๔ ปี ๒ เดือน ๗ วัน แม้ท่านจะไม่ได้เป็นคนใหญ่คนโต แต่ก็อบรมลูกหลาน จนได้มีหน้าที่การงาน และ อยู่ในศีลธรรมอันดีงาม ขอไว้อาลัย และ ระลึกถึงด้วยจิต คารวะ เพราะไม่สามารถ ไปงานได้

mardi 15 mars 2011

ภาพพระราชทานน้ำสรงศพ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม

ภาพพระราชทานน้ำสรงศพ
สมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม
โดย..พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี
ณ อาคารอุไรศรี คะนึงสุขเกษม วัดชนะสงคราม
วันที่ 11 มีนาคม 2554 เวลา 17.00 น.



















 


สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ วัดปากน้ำ
เป็นประธานฝ่ายสงฆ์


















ฐานิสฺสร มหาเถร สุปฎิปนฺโน นมามิ
ข้าพเจ้า ขอนอบน้อม พระเถระ ผู้ปฎิบัติดี นามว่า ฐานิสสโร







ข่าว : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
15 มีนาคม 2554



vendredi 11 mars 2011

สมเด็จพระมหาธีราจารย์ เจ้าอาวาสวัดชนะสงคราม มรณภาพ



สมเด็จพระมหาธีราจารย์
(นิยม ฐานิสฺสโร ป.ธ.9)
เจ้าอาวาสวัดชนะสงคราม ราชวรมหาวิหาร
กรรมการมหาเถรสมาคม-เจ้าคณะใหญ่หนกลาง

          นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เปิดเผยเมื่อวันที่ 11 มีนาคม ว่า สมเด็จพระมหาธีราจารย์ เจ้าอาวาสวัดชนะสงคราม กรรมการมหาเถรสมาคม ในฐานะเจ้าคณะใหญ่หนกลาง ได้มรณภาพลงแล้ว เมื่อเวลา 01.05 น. วันนี้ ด้วยโรคที่เกี่ยวกับตับ สิริอายุ 88 ปี
         สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสโร) เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม และเจ้าอาวาสวัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร ปัจจุบันได้รับพระบัญชาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่หนกลาง และเป็นคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏ เมื่อปี 2535 มีนามตามจารึกในสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระมหาธีราจารย์ พรหมวิหารวราธิมุต วิสุทธศีลาจารนิวิฐ พิพิธกิจจานุกิจโกศล วิมลหิตานุหิตดิลก ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี
       
           ทั้งนี้ สมเด็จพระมหาธีราจารย์นามเดิมว่า นิยม จันทนินทร เกิดวันจันทร์ที่ 11 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2466 ตรงกับวันขึ้น 7 ค่ำ เดือน 3 ปีกุน ณ บ้านท่าหิน อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา นามบิดา นายโหร่ง จันทนินทร นามมารดา นางฮิ่ม จันทนินทร บรรพชาสามเณร ณ วัดกระสังข์ ต.ธนู อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ.2479 โดยมีพระเทพวงศาจารย์ (ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่พระครูโบราณคณิสสร) วัดตองปุ เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่ออายุได้ 14 ปี และอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดพระญาติการาม ต.ไผ่ลิง อ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2487 โดยมีพระเทพวงศาจารย์ (ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่พระโบราณคณิสสร) วัดพนัญเชิง ต.คลองสวนพลู อ.พระนครศรีอยุธยา เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูสาธุกิจการี (ขม) วัดประดู่ทรงธรรม ต.ไผ่ลิง อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูอุทัยคณารักษ์ (ใหญ่) วัดสะแก ต.ธนู อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "ฐานิสฺสโร"

สำหรับการศึกษา เมื่ออายุได้ 7 ขวบ เรียนหนังสือวัด ประถม ก กา และมูลบทบรรพกิจ ในสำนักเจ้าอธิการอุ่น วัดหันตรา ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา อายุ 13 ปี เรียนนักธรรมบาลี ณ สำนักเรียนวัดตองปุ ต.บ้านเกาะ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่ออายุ 20 ปี ในปี พ.ศ.2486 สอบได้นักธรรมชั้นเอก เมื่ออายุ 32 ปี ในปี พ.ศ.2498 สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค

           สมเด็จพระมหาธีราจารย์ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรด พระราชทานแต่งตั้ง เลื่อนและสถาปนาสมณศักดิ์ โดยลำดับ ดังนี้ 

พ.ศ. 2505 เป็นพระราชาคณะ ชั้นสามัญ ที่ พระปริยัติโสภณ 
พ.ศ. 2507 เป็นพระราชาคณะ ชั้นราช ที่ พระราชโมลี 
พ.ศ. 2511 เป็นพระราชาคณะ ชั้นเทพ ที่ พระเทพโสภณ 
พ.ศ. 2515 เป็นพระราชาคณะ ชั้นธรรม ที่ พระธรรมปิฎก
 พ.ศ. 2530 เป็นพระราชาคณะ เจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ ที่ พระธรรมวโรดม และ 
พ.ศ. 2535 เป็นสมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏ ที่ สมเด็จพระมหาธีราจารย์

ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการมหาเถรสมาคม และเจ้าอาวาสวัดชนะสงคราม โดยได้รับพระบัญชาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่หนกลาง และเป็นคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช.


lundi 7 mars 2011

สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จเป็นประธาน พิธีพระราชทานเพลิงศพหลวงตามหาบัว



ผู้สื่อข่าวรายงานวันที่ 5 มี.ค. ที่วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานีตั้งแต่ ช่วงเช้ามืดของวันพระราชทานเพลิงศพ พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) ในช่วงเช้านี้ยังคงมีพุทธศาสนิกชนหลั่งไหลมาวัดไม่ขาดสาย เพื่อร่วมงานพระราชทานเพลิงสรีระสังขารองค์อริยสงฆ์สายวัดป่ากรรมมัฏฐาน และเฝ้ารับเสด็จสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวันนี้มีจำนวนคลื่นลูกศิษย์ลูกหาประชาชนเกิน 5 แสนแล้ว
ส่วนจิตกาธานวางสรีระองค์หลวงตา คณาจารย์จากร.ร.ช่างฝีมือในวังชาย สำนักพระราชวัง นำหยวกกล้วยที่แกะสลักลวดลายไทยเน้นความเรียบง่าย และดอกบัวขาวจากมะละกอดิบ จำนวน 50 ดอก ไปประดับตกแต่งจิตกาธานจนเสร็จสมบูรณ์แล้ว นอกจากนี้สำนักพระราชวังได้เชิญเมรุเบญจา ขึ้นตั้งข้างจิตตาการเมรุ เพื่อประกอบพิธีพระราชทานเพลิง ขณะที่บริเวณรอบเมรุ ปรากฏว่า ขณะนี้พื้นที่เกือบทั้งหมดเต็มไปด้วยคลื่นสาธุชนศิษย์หลวงตามหาบัว ที่พร้อมใจใส่เสื้อขาวจับจองพื้นที่ เพื่อรอส่งสรีระองค์หลวงตาในช่วงเย็นวันนี้อย่างใกล้ชิด
กระทั่งเวลา 17.20 น. สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ประทับรถยนต์พระที่นั่งมาถึงวัดป่าบ้านตาด เสด็จฯเข้าพลับพลาทรงสวมกอดสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ก่อนประทับพระราชอาสน์จากนั้นเสด็จฯ ขึ้นเมรุ ทรงทอดผ้าไตร 10 ไตรที่จิตกาธานรอบโกศสรีระสังขารพระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) พระสงฆ์ 10 รูปบังสุกุล ได้แก่ ประกอบด้วยสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดสัมพันธวงศ์ สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ วัดราชบพิธฯ สมเด็จพระวันรัต วัดบวรนิเวศฯ พระพรหมวชิรญาณ วัดยานนาวา พระพรหมมุนี วัดราชบพิธฯ พระธรรมวราภรณ์ วัดเครือวัลย์  พระธรรมเจติยาจารย์ วัดพระศรีมหาธาตุ พระธรรมบัณฑิต วัดพระรามเก้า กาญจนภิเษก พระธรรมดิลก วัดป่าแสงอรุณ จ.ขอนแก่น และพระญาณสิทธาจารย์ วัดสามัคคีอุปถัมภ์ จ.หนองคาย 
จากนั้นทรงหยิบกระทงข้าวตอกดอกไม้ ทรงจุดไฟดอกไม้จันท์แกนไม้จิก วางหน้าโกศพระธรรมวิสุทธิมงคล ชาวพนักงานประโคม ปี่ กลองชนะ ก่อนเสด็จฯ ลงจากเมรุไปประทับพระราชอาสน์ จากนั้นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ พร้อมด้วยพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ ขึ้นวางดอกไม้จันท์แก่นไม้จิกที่โกศ ก่อนเสด็จฯ ลงพลับพลา ประทับพระราชอาสน์
ต่อมาเวลา 17.45 น. สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินกลับโดยรถยนต์พระที่นั่ง ประชาชนเกือบล้านที่เฝ้ารับเสด็จต่างๆโบกธงชาติ และเปล่งเสียงทรงพระเจริญ ทรงพระเจริญ ทรงพระเจริญ จนขบวนเคลื่อนผ่าน
กระทั่งเวลา 18.00 น.พิธีพระราชทางเพลิงศพ สรีระสังขาร พระธรรมาวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) ท่ามกลางเสียงร้องไห้จากสาธุชนศิษย์หลวงตามหาบัว เกือบล้านคนระงมวัดป่าบ้านตาด


mercredi 2 mars 2011

ตั้ง พระธรรมสิทธินายก เป็นเจ้าคณะภาค 10 แทน พระพรหมกวี ที่มรณภาพ



สังเขปประวัติ


พระธรรมสิทธินายก (ธงชัย  สุขญาโณ  น.ธ.เอก พธ.บ.)
ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ผู้ช่วยเลขานุการแม่กองธรรมสนามหลวง
เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 9  และเป็นผู้รับผิดชอบงานพระธรรมทูตสายยุโรปและกลุ่มสแกนดิเนเวีย ตามพระบัญชาของสมเด็จพระพุฒาจารย์  

สถานะเดิม               ชื่อ ธงชัย  นามสกุล สุขโข  เกิดวันที่  16  กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499
                                 บิดาชื่อ นางเสงี่ยม  มารดาชื่อ นางตัน  สุขโข  ณ บ้านเลขที่19  หมู่ 5
                                ต.เขาวง  อ.พระพุทธบาท  จ.สระบุรี  ปัจจุบันอายุ 54 ปี พรรษา 34

อุปสมบท                พ.ศ. 2519  ณ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
                               กรุงเทพมหานคร  โดยมี สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร
                               เป็นพระอุปัชฌาย์

วิทยฐานะ               จบนักธรรมชั้นเอก  เป็นพุทธศาสตร์บัณฑิต

หน้าที่การงาน        1. เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง
                              2. เป็นผู้ช่วยเลขานุการแม่กองธรรมสนามหลวง
                              3. เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 9
                              4. เป็นผู้รับผิดชอบงานพระธรรมทูตสายยุโรปและกลุ่มสแกนดิเนเวีย
                                ตามพระบัญชาของสมเด็จพระพุฒาจารย์ ฯ

สมณศักดิ์             พ.ศ. 2530  เป็นพระครูประสิทธิสรคุณ ฐานานุกรมในพระพรหมคุณาภรณ์
                           (สมเด็จพระพุฒาจารย์ ในปัจจุบัน)
                           พ.ศ. 2532  เป็นพระครูพิทักษ์สุวรรณบรรพต
                           พ.ศ. 2535  เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระสุวรรณเจติยาภิบาล
                           พ.ศ. 2544  เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชธรรมสาร
                           พ.ศ. 2547  เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพสิริภิมณฑ์
                           วันที่ มิถุนายน 2549  เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงฉลองสิริราชสมบัติครบ 60  ปี  ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นกรณีพิเศษ ที่

พระธรรมสิทธินายก ดิลกธรรมานุยุต ประสุตสุวรรณเจติยกิจ วิสิฏฐวิเทศศาสนวราทร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

         การประชุม มหาเถรสมาคม วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 ผระธรรมสิทธินายก ขอลาออกจาก ตำแหน่งที่ปรึกษา เจ้าคณะภาค 9 เพื่อดำรง ตำแหน่งเจ้าคณะภาค 10