samedi 26 février 2011

นานาชาติเตรียมคว่ำบาตรลิเบีย ยูเอ็นเตรียมประชุมมาตรการกดดันวันนี้

นานาชาติร่วมแสดงการตอบโต้การกระทำของผู้นำลิเบีย ภายใต้การนำของประธานาธิบดีสหรัฐฯ หลังจากพ.อ.มูอัมมาร์ กัดดาฟี ประกาศโจมตีผู้ต่อต้านรัฐบาลอย่างไม่เลือกหน้า

โดยทำเนียบขาวได้กล่าวว่า นายบารัค โอบามา มีแผนที่จะร่วมพูดคุยกับนายเดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ และนายนิโคลาส์ ซาร์โกซี ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เพื่อหารือถึงความเป็นไปได้ในการตอบโต้ ซึ่งรวมถึงการประกาศเขตห้ามบิน และมาตรการคว่ำบาตรเพื่อกดดันให้นายกัดดาฟีลาออก นอกจากนั้นสวิตเซอร์แลนด์ยังประกาศอายัดทรัพย์สินทั้งหมดของเขาด้วย

หลังจากที่ไม่มีสัญญาณว่าผู้นำที่ปกครองลิเบียมานาน 42 ปี จะยอมก้าวลงจากตำแหน่ง และมากกว่านั้นเขาสั่งให้กองทัพเพิ่มจำนวนเครื่องบินรบ รถถัง และนักรบรับจ้างชาวต่างชาติ เพื่อตอบโต้กลุ่มต่อต้านรัฐบาล ซึ่งนักสิทธิมนุษยชนชาวฝรั่งเศสรายหนึ่งอ้างว่าอาจมีผู้เสียชีวิตสูงถึง 2,000 ราย และจากการแถลงการณ์เมื่อวันพฤหัสฯที่ผ่านมา พ.อ.กัดดาฟี ได้แถลงการณ์ผ่านสถานีโทรทัศน์ของรัฐบาลว่า โอซามา บิน ลาเด็น และคณะ คือต้นเหตุของการชุมนุมประท้วงที่เกิดขึ้นในประเทศลิเบีย

"พวกเขาส่วนใหญ่อายุ 17 ปี ถูกให้ยาในเวลากลางคืน ซึ่งเป็นยาหลอนประสาทที่แอบใส่ในเครื่องดื่ม นม และกาแฟ" นายกัดดาฟีให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ของลิเบียแห่งหนึ่ง

เมื่อวันพฤหัสบดี ประธานาธิบดีสหรัฐ บารัค โอบามา ประณามการปราบปรามผู้ประท้วงอย่างนองเลือดของผู้นำลิเบีย มุอัมมาร์ กัดดาฟี ว่าเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้และน่าชิงชัง นับเป็นเรื่องจำเป็นที่ประเทศต่างๆ และประชาชนทั่วโลกต้องพูดเป็นเสียงเดียวกัน ความทุกข์ยากและการนองเลือดที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่น่าชิงชัง

วันเดียวกัน กลุ่มอัลกออิดะห์ในเขตแอฟริกาเหนือได้เรียกร้องให้ผู้ประท้วงเดินหน้าการต่อสู้และการปฏิวัติต่อไปเพื่อโค่นล้มทรราช โดยกล่าวว่า กลุ่มอัลกออิดะห์รู้สึกเจ็บปวดกับการสังหารหมู่ที่กัดดาฟีได้กระทำต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ พี่น้องมุสลิมที่ไร้อาวุธได้ลุกฮือขึ้นต่อต้านการกดขี่ของกัดดาฟีแล้ว

คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เตรียมจัดประชุมในวันนี้ (25 ก.พ.) เพื่อหารือเกี่ยวกับวิกฤติการณ์ดังกล่าว โดยทำเนียบขาวได้กล่าวว่า นายบารัค โอบามา มีแผนที่จะร่วมพูดคุยกับนายเดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ นายนิโคลาส์ ซาร์โกซี ประธานาธิบดีฝรั่งเศส และนายซิลวิโอ เบอร์ลุสโคนี เพื่อหารือถึงความเป็นไปได้ในการตอบโต้ ซึ่งรวมถึงการประกาศเขตห้ามบิน และมาตรการคว่ำบาตรเพื่อกดดันให้นายกัดดาฟีลาออก นอกจากนั้นสวิตเซอร์แลนด์ยังประกาศอายัดทรัพย์สินทั้งหมดของเขาด้วย

นายบัน คี มุน เลขาธิการสหประชาชาติ กำหนดกล่าวแถลงในที่ประชุม 15 ชาติเพื่อหาแนวทางกดดัน พ.อ.กัดดาฟี จากเหตุการณ์ไม่สงบในลิเบียที่มีผู้เสียชีวิตหลายร้อยคนแล้ว  ขณะเดียวกันมีรายงานว่าประชาชนอย่างน้อย 30,000 คนส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างชาติชาวตูนิเซีย และอียิปต์ ได้อพยพหนีเหตุรุนแรงออกจากลิเบียแล้ว โดยจำนวน 15,000 คนหลบหนีไปตูนิเซีย และอีก 15,000 คนเข้าไปในอียิปต์

อย่างไรก็ดีคณะมนตรีความมั่นคงฯจาก 15 ชาติระบุว่า การประชุมในวันนี้อาจยังไม่มีการประกาศหรือมีมติการคว่ำบาตรต่อลิเบีย แต่อาจมีการผลักดันท่ามกลางมติที่เป็นเอกฉันท์ที่จะจัดการต่อปัญหาความรุนแรง แต่อย่างไรก็ดี อาจเป็นไปได้ว่าสหรัฐฯและสหภาพยุโรปมีแนวโน้มที่จะแสดงการคว่ำบาตรต่อลิเบียเป็นกลุ่มชาติแรกๆ

ขณะที่จีน ซึ่งตามปกติแล้วปฏิเสธที่จะแสดงการคว่ำบาตรต่อรัฐเอกราชใดๆ แต่เจ้าหน้าที่การทูตจีนกล่าวว่า ประเทศพร้อมที่จะพิจารณาให้มีการดำเนินมาตรการหากมีความจำเป็น
    
ขณะที่นายซาร์โกซี ประกาศเรียกร้องให้มีการยุติการใช้กำลังความรุนแรง และยุติการใช้ถ้อยคำอันแสดงการคุกคามของผู้นำลิเบีย ส่วนนายโอบามาและนายคาเมรอนต่างมีมติร่วมกันที่จะจัดให้มีการประชุมพหุภาคีเพื่อหารือในประเด็นเกี่ยวกับลิเบีย

ฝรั่งเศส ถือเป็นประเทศแรกที่เรียกร้องให้คว่ำบาตรลิเบีย  นายนิโกลาส์ ซาร์โกซี กล่าวว่า "เราต้องการระงับความสัมพันธ์ทางการเงิน เศรษฐกิจ และการค้ากับลิเบียจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น" อย่างไรก็ดี นายกรัฐมนตรีของกาตาร์บอกว่าตนไม่ต้องการโดดเดี่ยวลิเบีย

ข่าวแจ้งว่า พ.อ.กัดดาฟีไม่สามารถควบคุมพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศซึ่งเป็นแหล่งน้ำมันไว้ได้ ขณะที่กองกำลังความมั่นคงได้แปรพักตร์ไปเข้าร่วมกับฝ่ายผู้ประท้วง ซึ่งยังไม่แน่ชัดว่ากัดดาฟีจะครองอำนาจไปได้อีกนานเท่าไร นายอแลง จุปเป รัฐมนตรีกลาโหมของฝรั่งเศส กล่าวว่า ตนหวังว่าการปกครองของกัดดาฟีกำลังใกล้จะสิ้นสุดลงแล้ว และย้ำข้อเรียกร้องของฝรั่งเศสที่ขอให้นานาชาติคว่ำบาตรลิเบีย ซึ่งอาจรวมถึงการยุติการซื้อน้ำมันจากลิเบียด้วย
     


ที่มา นสพ มติชน

Aucun commentaire:

Enregistrer un commentaire