jeudi 24 février 2011

'A-Z' กับงานประกาศรางวัล 'ออสการ์' ครั้งที่ 83





งานประกาศรางวัลของคนบันเทิงฮอลลีวูด "ออสการ์" ใกล้เข้ามาทุกที จึงไม่เสียหลายที่คอหนังจะเตรียมตัวด้วยการศึกษาเกร็ดความรู้ของงานบางส่วน เอาไว้บ้าง โดยทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ได้นำเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ กับตัวอักษร A-Z ที่บังเอิญมาเกี่ยวข้องกับงานประกาศรางวัลครั้งใหญ่นี้...

A-Academy
คือ สถาบันผู้จัดงาน ซึ่งก่อตั้งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร แรกเริ่มนั้นมีสมาชิกเป็นโปรดิวเซอร์ละผู้ผลิตหนังทั้งสิ้น 36 คน กระทั่งในปัจจุบันมีสมาชิก ซึ่งเป็นกรรมการตัดสินถึงจำนวน 6,000 คน

B-Bleachers
คือ ที่นั่งพิเศษสำหรับผู้เข้าชมงานด้านนอกสถานที่จัดงาน โดยจัดเตรียมไว้ให้กับแฟนหนังผู้คลั่งไคล้ ได้ยลโฉมเหล่าดาราอย่างใกล้ชิด แต่ต้องลงทะเบียนล่วงหน้าไว้อย่างน้อย 6 เดือน

C-Campaign
เป็นการรณรงค์ทุกๆ ปีโดยบรรดาผู้ผลิตหนัง เชิญชวนให้สมาชิก Academy ลงคะแนนเสนอชื่อหนังของค่ายตน และจัดส่งดีวีดีพร้อมอุปกรณ์โปรโมชัน ให้กับเหล่าผู้มีสิทธิ์ลงคะแนน

D-Drama
เป็นเวทีภาพยนตร์แนวดราม่า ในบรรดาประเภทหนังที่เข้าชิงออสการ์ทั้งหมด พบว่าหนังสไตล์ดราม่าสามารถชนะใจผู้มีสิทธิ์ออกเสียงมากที่สุด รองลงมาคือหนังชีวประวัติ หนังตลก และหนังเพลง

E-Envelope
หรือ ซองจดหมาย โดยพิธีกรที่ได้รับเชิญจะเป็นผู้เปิดซอง เพื่อประกาศรายชื่อผู้คว้ารางวัล

F-Fashion
คือ แฟชั่นการแต่งกายของบรรดาดาราที่เข้าร่วมในงาน แฟชั่นจึงถือเป็นไฮไลท์สำคัญของงาน แต่ที่ผ่านมา กลับมีเครื่องแต่งกายหลายชุด ที่ถูกตราหน้าว่าเป็นชุดต้องห้าม ซึ่งไม่ควรกล้าสวมออกจากบ้าน เช่น ชุดนางหงส์ของ Bjork เมื่อปี 2001 ชุดซีทรูท่อนบนไม่มีบราของ Gwinneth Patrow ในปี 2002

G-Goodie Bags
เป็นถุงของขวัญที่บรรจุเงินรางวัลมูลค่าถึง 100,000 ดอลลาร์ หรือประมาณ 3.5 ล้านบาท มอบแทนคำขอบคุณให้กับผู้ประกาศรางวัล และผู้ร่วมแสดงในงานออสการ์

H-Honorary Award
คือรางวัลเกียรติยศพิเศษ ซึ่งจะมอบให้กับดาราสูงวัยรุ่นเก๋าในวงการ

I-In Memoriam
คือ ช่วงการไว้อาลัยถึงผู้ที่จากไปในแต่ละปี

J-Jean Hersholt
รางวัลฌอง เฮอร์สโฮลท์ เขาคือดาราดัง และเคยเป็นประธานของสถาบัน หลังจากที่เขาเสียชีวิตในปี 1956 ก็มีการมอบรางวัลตามชื่อเขาให้กับ ผู้ใช้ความพยายามด้านมนุษยธรรม จนนำชื่อเสียงมาสู่วงการ

K-Kodak
หมายถึง Kodak Theatre ซึ่งใช้เป็นสถานที่จัดงานและแจกรางวัล

L-Los Angeles
หมายถึง สภาพรถติดมหาศาลที่นครลอสแองเจลิส ขณะช่วงจัดงานประกาศผลรางวัลออสการ์ในแต่ละปี

M-Marksmen
คือ พลซุ่มยิงที่คอยรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดในงาน และป้องกันไม่ให้ผู้ใช้บัตรผ่านปลอมเข้างาน

N-Nominations
คือ การเสนอชื่อหนังเข้ารับรางวัล ซึ่งภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวต้องเคยฉายที่อเมริกาอย่างน้อย 1 ครั้งก่อนวันที่ 31 ธ.ค.ปีก่อน

O-Oscar
ชื่อของรางวัลซึ่งใช้มาตั้งแต่ปี 1931 แต่ยังคงเป็นที่ถกเถียงเรื่องที่มาของชื่อ

P-Presenter
คือ พิธีกรรายการ

Q-Quips
เป็นมุขตลกนินทาของพิธีกร ขณะปฏิบัติหน้าที่บนเวที

R-Red Carpet
คือ พรมแดงในงานสำหรับประกวดแฟชั่นชุดสวยของบรรดาดารา ซึ่งใน Kodak Theatre ต้องใช้พรมแดงมากถึง 14,000 ตารางฟุต

T-Television
คือ การถ่ายทอดสดออกทีวี

U-Upsets
ความผิดหวังจากการพลาดรางวัล

V-Vanity Fair
เป็นงานเลี้ยงฉลองที่จัดโดยนิตยสาร Vanity Fair หลังเสร็จพิธีแจกรางวัล ซึ่งโดยมากผู้เข้าร่วมจะเป็นผู้ชนะรางวัล

W-War
หมายถึง สงครามที่ประเทศกำลังเผชิญอยู่ ซึ่งบางปีอาจมีการประหยัดงบในการจัดงาน เนื่องจากวิกฤติสงคราม

X- X-Rated
หนังออสการ์เรท x

Y-Youth
ดารารุ่นเล็กที่คว้ารางวัลได้

Z-Zero
หมายถึง  เลขไร้โชค เป็นความล้มเหลวที่ภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวไม่ได้รับรางวัลเลย.





ที่มา  ไทยรัฐ

Aucun commentaire:

Enregistrer un commentaire